วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วิชา หลักการพื้นฐานทางรัฐศาสตร์ (หน่วยที่๑)

หน่วยที่ ๑ ลักษณะและขอบข่ายของรัฐศาสตร์
๑.๑ แนวคิดและความหมายของรัฐศาสตร์ 
๑.๑.๑ แนวคิดเชิงปรัชญา เชิงสถาบันและโครงสร้าง รวมทั้งเชิงระบบ 
๑) การศึกษารัฐศาสตร์ตาม “แนวคิดเชิงปรัชญา” 
          เป็นการศึกษารัฐศาสตร์ตามแนวคิดเชิงปรัชญาของนักปราชญ์ ที่มุ่งเสนอแนะแสวงหา”สิ่งที่ควรจะเป็น”หรือ”สิ่งที่พึ่งปรารถนา”
  • โสกราตีส ตั้งคำถามเกี่ยวกับความดี ความยุติธรรม และเป้าหมาของรัฐ ซึ่งคำถามเหล่านี้เป็นแนวทางของปรัชญาการเมืองที่พยายามแสวงหารูปแบบการกระทำหรือกิจกรรม ระเบียบแบบแผนทางการเมืองที่ถูกต้องและดีงาม 
  • เพลโต เสนอในงานเขียน “อุดมรัฐ”(Republic) ว่ารัฐในอุดมคติจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมี “ราชาปราชญ์”(Philosopher King) 
  • อริสโตเติล เสนอในงานเขียน “การเมือง”(Politic) ว่า รัฐในอุดมคติ คือ “รัฐที่มีการปกครองระบอบอภิชนาธิปไตย” เน้นคุณสมบัติของคนกับการปกครองตามสัดส่วนที่ยึดถือความดีเป็นหลัก โดยพิจารณาจากจำนวนผู้ปกครองและเป้าหมายในการใช้อำนาจ เป็นหลัก 
  • มาเคียเวลลี เสนอในงานเขีนเรื่อง "เจ้า”(The Prince) ว่าการเมืองเป็นเรื่องของศิลปะการใช้อำนาจ เป้าหมายของการเมืองอยู่ที่ผลประโยชน์ส่วนรวม เพื่อเป้าหมายดังกล่าวผู้ปกครองย่อมใช้วิธีที่ไม่มีศีลธรรมได้ “เข็มแข็งดุจราชสีห์ เจ้าเลห์ดั่งสุนัขจิ้งจอก” 
  • โธมัส ฮ้อบส์ เสนอในงานเขียน “Leviathan” ว่า มนุษย์นั้นอยู่ภายใต้กฎของธรรมชาติที่แสวงหาความมั่นคงและปลอดภัย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดั่งกล่าวมนุษย์จึงต้องสละสิทธิ์ตามธรรมชาติ บางส่วนแก่ผู้ปกครองหรือองค์อธิปัตย์ 
  • จอห์น ล็อค เสนอในงานเขียน The Second Treatise of Civil Government ว่า รัฐบาลที่ดีเกิดคือรัฐบาลที่เกิดจากการทำ ”สัญญาประชาคม” (Social Contract) เพื่อทำหน้าที่เป็นองค์กรในการใช้อำนาจส่วนกลางร่วม หากไม่สามรถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพประชาชนสามารถเปลี่ยนแปลงรัฐบาลได้ + คาร์ลมากซ์ เสนองานเขียน The Communist Manifesto ว่ารัฐเป็นเครื่องมือที่ชนชั้นนายทุนกดขี่ ข่มเหง ชนชั้นกรรมมาชีพ สังคมที่ดี คือ “สังคมคอมมิวนิสต์”ที่ปราศจากรัฐและผู้ปกครองโดยที่ทุกคนมีความเสมอภาคกัน 
          แนวคิดเชิงปรัชญา เป็นรากฐานสำคัญของการสร้างทฤษฎีและลัทธิอุดมการณ์เกี่ยวกับรัฐและการเมือง  การปกครอง

๒) การศึกษารัฐศาสตร์ตาม “แนวคิดเชิงสถาบันและโครงสร้าง” 
  • มุ่งอธิบายว่ารัฐและการปกครองที่ดีจะต้องเป็นรัฐที่มีสมรรถนะ เสถียรภาพและมีการแบ่งหน้าที่กันทำตามความชำนาญเฉพาะด้านในการทำหน้าที่ของสถาบันการเมืองการปกครอง 
  • รวมทั้งเพื่อ ถ่วงดุลอำนาจระหว่างสถาบันด้วยกันเอง โดยเฉพาะ สถาบันนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ 
  • จึงเป็นการศึกษาที่เน้นแบบแผนกิจกรรมหรือการกระทำในรูปของกลุ่มหรือองค์กรที่จัดตั้งทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ 
  • เพื่อจุดมุ่งหมายในการจัดระเบียบ จัดสรรผลประโยชน์และยุติปัญหาข้อขัดแย้งในสังคม 
  • แนวคิดเชิงสถาบันและโครงสร้าง เป็นรากฐานสำคัญของการสร้างแบบแผนกิจกรรม ระเบียบความสัมพันธ์ ขอบเขตอำนาจ 
๓) การศึกษารัฐศาสตร์ตาม “แนวคิดเชิงระบบ” 
  • มุ่งอธิบายว่า รัฐและการปกครองที่ดีนั้นจะต้องประกอบด้วยส่วนย่อยต่างๆที่มีการทำงานอย่างเป็นลำดับขั้น มีการประสาน สอดคล้อง มีปฏิสัมพันธ์และการปรับตัว แลส่งผลต่อสมรรถภาพโดยรวมของทั้งระบบ 
  • แนวคิดเชิงระบบ เป็นรากฐานของการจัดจำแนกปัจจัยส่วนประกอบ การลำดับขั้นตอนการทำงาน และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของกลไก กระบวนการส่วนย่อยต่างๆ ภายในระบบการเมืองไทย 
๑.๑.๒ ความหมายของรัฐศาสตร์ 
           มี ๓ ความหมายคือ ความเป็นศาสตร์เกี่ยวกับรัฐ เกี่ยวกับการปกครอง และเกี่ยวกับการเมือง ทั้ง ๓ ความหมายมีเป้าหมายเหมือนกันคือ การอธิบายและเสนอแนวทางในการสถาปนารัฐและการปกครองที่ดี ซึ่งสามารถจัดสรรหรือแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่กลุ่มชนต่างๆได้อย่างทั่วหน้า


๑) ความเป็นศาสตร์เกี่ยวกับรัฐ 
  • มุ่งอธิบายเกี่ยวกับรัฐในมิติต่างๆ เช่นการกำเนิด องค์ประกอบ หน้าที่และจุดมุ่งหมายของรัฐ พัฒนาการ รูปแบบ โครงสร้าง 
  • การกำเนิดของรัฐ ศึกษาในหลายทฤษฏี ได้แก่ทฤษฏีเทวสิทธิ์ ทฤษฏีสัญญาประชาคม ทฤษฏีกำลัง ทฤษฏีธรรมชาติ เป็นต้น 
  • ศึกษาโครงสร้างของรัฐ โครงสร้างของรัฐบาล ระบบกลไกราชการ ชนชั้นนำทางอำนาจการปกครองและเศรษฐกิจ โครงสร้างทางอุดมการณ์ 
  • ศึกษาอำนาจอธิปไตยของรัฐ ได้แก่ อำนาจอธิปไตยภายในรัฐซึ่งเน้นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ และอำนาจภายนอกรัฐซึ่งเน้นเอกราช 
  • ศึกษาสิทธิเสรีภาพ ของประชาชน ได้แก่การรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
๒) ความเป็นศาสตร์เกี่ยวกับการปกครอง 
  • มุ่งอธิบายเกี่ยวกับอำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ รูปแบบและกลไกสถาบันในการปกครองของรัฐ แบบแผนและกระบวนการในการปกครองของรัฐ ความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างองค์กรปกครองส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่น
  • ศึกษากระบวนการตราและบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
  • การอธิบายเกี่ยวกับ อำนาจสูงสุดในการปกครองของรัฐ ได้แก่ การกำหนดขึ้น ความเป็นเจ้าของ และวิธีการนำอำนาจไปใช้
๓) ความเป็นศาสตร์เกี่ยวกับการเมือง
  • มุ่งอธิบายเกี่ยวกับลัทธิทางการเมือง โครงสร้างสถาบันและการทำหน้าที่ของสถาบันทางการเมือง พัฒนาการทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมือง กระบวนการทางการเมือง การตรวจสอบทางการเมือง การควบคุมโทษทางการเมือง 
๑.๑.๓ ความแตกต่างและความคล้ายคลึงระหว่างรัฐศาสตร์กับการเมือง 
  • รัฐศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับ รัฐ การปกครอง และการเมือง ดังนั้นการเมือง จึงเป็นส่วนหนึ่งของรัฐศาสตร์ 
  • ข้อแตกต่างระหว่างรัฐศาสตร์กับการเมืองนั้น จุดสำคัญอยู่ที่ ขอบเขตของการศึกษา 
  • รัฐศาสตร์มีขอบเขตการศึกษาที่กว้าง คลอบคลุมมากกว่า การเมือง ขณะที่การเมืองในมีขอบเขตที่แคบและละเอียดกว่า 
  • เช่น เมื่อกล่าวถึงคำความ "อำนาจ” รัฐศาสตร์จะสนใจถึงอำนาอธิปไตยของรัฐ กระบวนวิธีการใช้อำนาจสูงสุดในการปกครอง และกระบวนวิธีในการยึดกุมอำนาจหรือควบคุมอำนาจนั้นด้วย แต่ถ้าเป็นการเมืองจะสนใจเฉพาะกระบวนวิธีในการยึดกุมอำนาจหรือควบคุมอำนาจเท่านั้น 
  • การเมืองมีจุดเด่นคือ สามารถเพิ่มความละเอียดลึกซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ละเอียดและแยกย่อยเฉพาะด้านได้มากขึ้น
๑.๒ พัฒนาการของรัฐศาสตร์ 
๑.๒.๑ ความเป็นมาของรัฐศาสตร์
            เดิมเป็นแขนงของสังคมศาสตร์ จำแนกได้ ๕ ยุค คือ 
๑) รัฐศาสตร์ยุคสมัยที่เน้นปรัชญา (๕๐๐-๓๐๐ ก่อนคคริสต์สักการ) 
  • เกิดขั้นใน ยุคอารยธรรมกรีกโบราณ โดยอิทธิพลทางความคิดของนักปราชญ์ที่สนใจเกี่ยวกับ รัฐ การปกครอง และการเมือง 
  • มุ่งแสวงหาเป้าหมายอันพึ่งปรารถนา โดยอาศัยบรรทัดฐานเชิงคุณค่านิยมในทางศีลธรรมและจริยธรรมเป็นเครื่องแยกระหว่างดีกับเลว
  • มีนักคิดคนสำคัญได้แก่ เพลโต(บิดาปรัชญาการเมืองเสนอ ราชาปราชญ์),อริสโตเติล(บิดาวิชารัฐศาสตร์)เพราะเป็นคนแรกที่แยกรัฐศาสตร์ออกจากสังคมศาสตร์,
  • เน้นการศึกษาในเชิงปรัชญาและศีลธรรม ได้รับอิทธิพลทางความคิดในรูปแบบตำรา คำสอน และบทสนทนา 
๒) รัฐศาสตร์ในยุคสมัยที่เน้นกฎหมาย
  • เกิดขึ้นในอาณาจักรโรมัน โดยมีการเชื่อมโยงปรัชญากรีกกับ ความคิดทางการเมืองของตะวันตก
  • มุ่งสร้างความผูกพันระหว่างมนุษย์ที่เท่าเทียมกันทั้งโลกเหนือความผูกพันเฉพาะชุมชน อิงบรรทัดฐานของกฎธรรมชาติศักดิ์ศรีและความเสมอภาคของมนุษย์   
  • ถือว่า กฎหมาย คือแกนของวิชารัฐศาสตร์ เพราะผู้นำเป็นทหาร รวบรวมดินแดนต่างๆเข้ามาอยู่ เขตอำนาจการปกคราองเดียวกัน กฎหมายจึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุม 
  • มีการประมวลกฎหมายขึ้น ในสมัยพระจักรพรรดิจัสติเนียน ค.ศ.๕๒๗- ๕๖๕
  • มีการผสมผสานปรัชญากรีกจากสำนักสโตอิค กับความคิดทางการเมืองของตะวันตกที่เน้นความสัมพันธ์และความเสมอภาคและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ จนกลายเป็นรากฐานทางกฎหมายและรัฐธรรมนูญ
๓) รัฐศาสตร์ในสมัยที่เน้นศาสนา 
  • มุ่งสร้างจักรภพโลกแห่งศาสนาเดียว อิงบรรทัดฐานของหลักธรรมคำสอนของคริสต์ศาสนาและอิทธิพลของ ศาสนจักรเหนืออาณาจักร 
  • เกิดขึ้นยุคศักดินาหรือยุโรปยุคกลาง 
  • รัฐศาสตร์ในยุคนี้มีความผูกพันกับระบบจริยธรรมด้วย
๔) รัฐศาสตร์ในสมัยที่เน้นอำนาจ
  • มุ่งวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับศิลปะในการใช้อำนาจและรักษาอำนาจ อิงบรรทัดฐนของความมั่นคงเข็มแข็งของอำนาจมากกว่าจรยธรรมหรือศีลธรรม
๕) รัฐศาสตร์ในสมัยที่เน้นการพัฒนาทางการเมืองและการเมืองเปรียบเทียบ
  • มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจและการใช้ประโยชน์ในการพัฒนา อิงบรรทัดฐานของการสร้างทฤษฏี การสร้างหลักการทงวิทยาศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ แนวโน้มในอนาคต + ในยุคหลังความทันสมัยจะเน้นการแก้ไขปัญหาสำคัญของประชาชนการเมืองโลก ตอบสนองความต้องการและยกระดบมาตรฐานคุณภาพชีวิตของมนุษยชาติในภาคประชาชนมากกว่าองค์กรของรัฐ
๑.๒.๒ ขอบข่ายของรัฐศาสตร์ 
  • มีแนวโน้มว่าจะขยายขอบข่ายออกไปมากขึ้น ทั้งด้านเทคนิควิธีการศึกษา เนื้อหาสาระและเป้าหมายการศึกษา ซึ่งครอบคลุมทังการเมืองทั่วไป เรื่องทฤษฎีและประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง เรื่องการเมืองเปรียบเทียบ
๑.๒.๓ พัฒนาการและขอบข่ายของรัฐศาสตร์ในประเทศไทย 
  • เมื่อไทยได้รับอิทธิการจัดระเบียบการปกครองแบบตะวันตกจึงได้นำเอา ความรู้ทางรัฐศาสตร์เท่าที่จำเป็นมาสอนในโรงเรียนฝึกหัดข้าราชการพลเรือน และก่อตั้งเป็นโรงเรียน รัฐประศาสนศาสตร์ในเวลาต่อมา 
  • จุฬาลงกรณ์เปิดหลักสูตรเป็นแห่งแรก ตามด้วยธรรมศาสตร์ รามคำแหง และ มสธ. 
  • มี ๓ สาขาคือ การปกคราอง บริหารรัฐกิจหรือรัฐประศาสนศาสตร์ และระหว่างประเทศ. 
  • ขอบข่ายของรัฐศาสนาเริ่มขยายไปสู่ ภาคเอกชน มีความเป็นเอกชนและความเป็นวิชาชีพ ความชำนาญเฉพาะทางมากขึ้น
๑.๓ เนื้อหาและวิธีการศึกษารัฐศาสตร์
๑.๓.๑ เนื้อหาและวิธีการศึกษาในแนวปรัชญา
           วิธีการศึกษารัฐศาสตร์ตามแนวปรัชญาไม่ได้อิงระเบียบวิ๊ทางวิทยาศาสตร์มากนักแต่ เป็นการอิงกับความเชื่อของคนที่เป็นนักปราชญ์เป็นสำคัญ 
  • โสคราตีส เกี่ยวกับเป้าหมายความต้องการและรูปแบบที่ดีที่สุดของรัฐ การกระทำทางการเมืองที่ดีและยุติธรรม
  • เพลโต เกี่ยวกับรัฐในอุดมคติ ผู้ปกครองที่ดีหรือราชาปราชญ์ 
  • อริสโตเติ้ล เกี่ยวกับรัฐในอุดมคติและระบอบการปกครองที่พึงปรารถนาตามหลักการปกครองตามสัดส่วน 
  • มาเคียเวลลี่ เกี่ยวกับศิลปะการใช้อำนาจและการปกครอง หน้าที่เพื่อความปลอดภัยอยู่ดีกินดี เป้าหมายสูงสุดคือ ส่วนรวม 
  • โธมัสฮ็อบ เกี่ยวกับ ความยุติธรรมในรูปกฎหมายที่องค์อธิปัตย์หรือผู้ปกครองใช้เพื่อเป้าหมายสูงสุด คือ ความปลอดภัย 
  • จอหน์ ล็อค เกี่ยวกับ อำนาจส่วนกลางที่คุ้มครองประชาชน และสิทธิในการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลของประชาชน 
  • รุสโซ เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดเป็นของชุมชนไม่ใช่รัฐบาล + มองเตสกิเออ เกี่ยวกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย รัฐบาลมีอำนาจจำกัด และมีการถ่วงดุลอำนาจ บริหาร ตุลการ นิติบัญญัติ
  • เฮเกล เกี่ยวกับจิตใจและความคิดเป็นตัวกำหนดสู่สิ่งใหม่ รัฐบาลจะดีหรือเลวขึ้นกับความคิดและจิตใจของคนในขณะนั้น 
  • เบนธัม เกี่ยวกับพันธะทางอำนาจของรัฐบาลในการสร้างประโยชน์สูงสุด แก่คนจำนวนมากที่สุด 
  • มิลล์ เกี่ยวกับการรักษาผลประโยชน์ ระหว่างของปัจเจกชนและของส่วนรวม โดยการสร้างดุลยภาพระหว่างเสรีภาพของคนกับรัฐบาล 
  • มากซ์ เกี่ยวกับวัตถุเป็นตัวกำหนดความเปลี่ยนแปลง รัฐเป็นเครื่องมือของทุนนิยมในการ ขูดรีด สังคมคอมมิวนิสต์คือสังคมที่ไร้รัฐและชนชั้น 
๑.๓.๒เนื้อหาและวิธีการศึกษาแนวสถาบันและโครงสร้าง 
           วิธีการศึกษาจะเน้นพฤติกรรม การเปรียบเทียบและการพัฒนา โดยอาศัยระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ ทางสังคมวิทยาและชีววิทยา
  • มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับสถาบันทางการเมืองในฐานะที่เป็นส่วนประกอบย่อย ของระบบการเมือง 
  • สนใจในส่วนที่เป็นสถาบันการเมืองการปกครอง โครงสร้าง และหน้าที่ของสถาบันเหล่านั้น
  • สถาบันนั้นไม่จะเป็นว่าต้องจัดตั้งอย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ จัดตั้งโดยรัฐหรือประชาชน แต่สำคัญที่ การกระทำหรือกิจกรรมทางการเมือง และมีผลกระทบต่อระบบการเมือง 
  • Eisenstad เห็นว่าสถาบันทางการเมืองจะมีลักษณะ ๑) มีแบบแผน กฎเกณฑ์และบรรทัดฐาน ๒) มีโครงสร้างและวิธีปฏิบัติกิจกรรมทางการเมือง ๓) มีปฏิสัมพันธ์กับสถาบันทางการเมืองอื่น
  • Huntington เห็นว่าเสถียรภาพหรือความมั่นคงของสถาบันนั้นขึ้นกับ ๒ ปัจจัยคือ ๑) ขอบเขตของการสนับสนุน ๒) ระดับความเป็นสถาบัน
๑.๓.๓ เนื้อหาและวิธีการศึกษาแนวระบบและวัฒนธรรมเมือง
          มีวิธีการศึกษาที่คล้ายคลึงกับแนวสถาบันและโครงสร้าง มีจุดต่างที่สำคัญคือ คำนึงถึงความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมทางการเมือง ศึกษษการเมืองในระบบปิดมากกว่าระบบเปิด อีกส่วนหนึ่งที่แตกต่างอย่างสำคัญคือ ส่วนที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมทางการเมือง การศึกษาแนวระบบและวัฒนธรรมเมืองมีเนื้อหาที่สำคัญอยู่ ๒ ส่วนคือ
๑) ส่วนที่เกี่ยวกับระบบการเมือง ส่วนเใหญ่เกี่ยวกับลักษณะที่เหมือนหรือคล้ายกันของระบบการเมือง ขั้นตอนและการทำงานของระบบการเมือง การดำรงอยู่ของระบบการเมือง และความแตกต่างของระบบการเมือง
๒) ส่วนที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมทางการเมือง ซึ่งส่วนใจเกี่ยวกับทีี่มา รูปแบบ บทบาท และความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างระบบการเมืองกับวัฒนธรรมการเมือง 
ภาพที่ ๑.๑ ขั้นตอนและการทำงานระบบการเมือง
๑.๔ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับศาสตร์อื่น
๑.๔.๑ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับนิติศาสตร์
  • มีความเชื่อมโยงกันทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
  • นิติศาตร์เกี่ยวข้องทัั้งการกำเนิดของรัฐ พัฒนาของรัฐ เครื่องมือของรัฐการออกแบบ ระบบการเมืองการปกครอง การสร้างความชอบธรรมทางการเมืองการปกครองของสถาบันการเมืองการปกครองและผู้ปกครอง
  • นิติศาสตร์จึงมีส่วนสนับสนุนรัฐศาสตร์ให้มีเครื่องมือในการสรา้งรัฐ พัฒนารัฐ ออกแบบระบอบการเมืองการปกครอง ปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เป็นต้น
๑.๔.๒ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับสังคมวิทยาและจิตวิทยา
  • มีความสัมพันธ์กันในแง่ของขอบข่ายของเนื้อหาสาระบริบท และวิธีในการศึกษา โดยเฉพาะปัจจุบันที่รัฐศาสตร์สนใจเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ประชาสังคม และพฤติกรรมทางสังคมของคนและสถาบันทางการเมืองการปกครอง
  • เนื่องจาก รัฐศาสตร์ศึกษษในหน่วยและระดับที่เกี่ยวกับคน กลุ่มคน ชุมชน รัฐและสถาบัน และสังคมโดยรวมด้วย คลอบคลุมทั้งจุล ภาค มหภาค ในแง่มุมต่างๆไม่ว่าจะเป็น พฤติกรรม วัฒนธรรม ความต้องการ แรงจูงใจ ทัศนคติ ค่านิยม และอารมณ์ความรู้สึกของคนทั้งในฝ่ายผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง
๑.๔.๒ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับสังคมวิทยาและเศรษฐศาสตร์
  • มีความสัมพันธ์กันในส่วนที่เกี่ยวกับเหตุผลและเป้าหมายมากว่า วิธีการ
  • เนื่องจากทั้งสอง อ้างอิงเหตุผลบนพื้นฐานของความเป็นธรรม และอ้างอิงเป้าหมายบนพื้นฐานของการสรา้งประโยชน์ สูงสุดให้แก่คนจำนวนมากที่สุด
๑.๔.๒ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับสังคมวิทยาและประวัติศาสตร์
  • มีความสัมพันธ์ในลักษณะพึ่งพาอาศัยกัน 
  • กล่าวคือ ขณะที่ประวัติศาสตร์เแาปรากฏการณ์ทางการเมืองไปบันทึก วิเคราะห์และตีความนั้น รัฐศาสตร์เองก็นำเอาประวัติศาสตร์มาใช้เป็นหลักฐานและข้อมูลประกอบการอ้างอิง วิเคราะห์ คาดการณ์และทำนายปรากฏการณ์ทางการเมืองด้วยเช่นกัน

+++++++++++++++  แร้วจ้าาาา บทที่ ๑  +++++++++++++

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ5 กันยายน 2556 เวลา 14:13

    ขอบคุณมากที่เผยแพร่ความรู้ให้กับรุ่นน้อง

    ตอบลบ