วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

หน่วยที่ ๓ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพลเมือง

๓.๑  ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพลเมือง
๓.๑.๑ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ชาติ และอำนาจอธิปไตย

  • รัฐ มีผู้คำนิยามที่กล่าวโดย  อริสโตเติ้ล, Schleiermacher, Bluntschi  ในบทที่ ๒
  • คำนิยามของ รัฐ คือ สมาคม หรือประชาคม ซึ่งผูกขาดการมีอำนาจบังคับหมายความว่ามีการรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางอย่างน้อยในระดับใดระดับหนึ่ง และอำนาจนี้สามารถใช้บังคับได้กับทุกคน มีขอบเขตพรมแดนทางภูมิศาสตร์ มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตน และมีประชาชนในฐานะพลเมืองและมีพันธะต้องปฏิบัติต่อรัฐ
  • คำนิยามของ ชาติ เป็นการรวมกลุ่มของประชาชนที่มี ลักษณะทางวัฒนะธรรม ภาษา ประสบการณ์ ทางประวัติศาสตร์ที่คล้ายคลึงกัน ข้อโต้แย้ง แม้ว่าความเป็นชาติจะอาศัยความเหมือนกันทางด้านชาติพันธุ์ของผู้ที่มารวมกันเป็นชาติ แต่อาจมีบางกรณีที่ชาติเป็นที่รวมกันของสมาชิกที่มีความหลากหลายทางชาติพันธ์และศาสนาได้ เช่น USA
  • คำนิยามของอำนาจอธิปตย คือ อำนาจสูงสุดและเด็ดขาดที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้ถูกใช้โดยองค์อธิปัตย์ (มีในบทที่ ๒ โดย จอง โบแดง ,Jean Bodin )
  • ข้อแตกต่างของ รัฐกับชาติ ๑) ชาติเป็นเรื่องของความรู้สึก ความผูกพันธ์กันของสมาชิก เป็นเรื่องของจิตวิทยา เมื่อพูดถึงชาติจะไม่พูดถึงเรื่องรัฐบาล หรือการใช้อำนาจโดยรัฐบาล ๒) รัฐมีพรมแดนที่แน่นอน แต่ขอบเขตหรือพรมแดนของชาติอาจไม่สอดคล้องกับรัฐ ในรัฐๆหนึ่งอาจประกอบด้วยหลายชาติ หรือชาติๆหนึ่งอาจะอยู่คาบเกี่ยวมากกว่าหนึ่งรัฐ
  • ลัทธิชาตินิยม เป็นแนวคิดที่สำคัญในการผลักดันการพัฒนารัฐชาติ เพราะเป็นแนวคิดที่สรา้งความซื่อสัตย์ ความจงรัภักดีของประชากรต่อประชาคมที่เรียกตัวเองว่า ชาติ หรือรัฐชาติ
๓.๑.๒ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครองในสมัยต่างๆ
๑) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครองในสมัยระบบฟิวดัล

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่เขียนต่อแล้วหรอคับ
    รออ่านอยู่เลย

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ2 ธันวาคม 2557 เวลา 21:45

    อยากได้สรุปทั้ง 15 บทค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

    ตอบลบ