วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วิชา หลักการพื้นฐานทางรัฐศาสตร์ (หน่วยที่๒)

หน่วยที่ ๒ แนวความคิดว่าด้วยรัฐและอำนาจอธิปไตย
๒.๑ คำนิยามของกรอบแนวคิดว่าด้วยรัฐ
๒.๑.๑ ความหลากหลายของคำนิยามของแนวคิดว่าด้วยรัฐ
          นักวิชาการจากหลฃายสาขา มไ่ว่าจะเป็น นักปรัชญา นักกฎหมาย นักมานุษยวิทยา เป็นต้นต่างให้ความสนใจเรื่อง รัฐ จึงทำให้มีคำนิยามที่หลากหลาย ในปี ๑๙๓๑ มีนักรัฐศาสตร์ท่านหนึ่งอ้างว่าสามารถรวมได้ ถึง ๑๔๕ คำนิยาม
  • อริสโตเติ้ล ให้คำนิยามว่า รัฐคือชุมชนทางการเมืองที่มีสถานะสูงสุดเหนือชุมชนอื่น และรวบรวมเอาชุมชนอื่นๆไว้ทั้งหมด ดังนั้นรัฐจึงต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรลุความดีที่เหนือกว่าชุมชนอื่นๆ ที่อยู่ภายในรัฐ กล่าวคือ รัฐมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือความดี นั้นเอง 
  •  Schleiermacher กล่าวว่า รัฐคือรูปแบบการดำรงชีวิตของประชาชน รัฐถือกำเนิดขึ้นเมื่อประชาชนโดยส่วนรวมเกิดความสำนึกใน ความเป็นเอกภาพ และมีผลทำให้กิจกรรมทางสังคมทั้งหลายมีความเป็นเหตุเป็นผลมากกว่าการเกิดขึ้นโดยสัญชาตญาณ  
  •  Bluntschi เห็นว่ามนุษย์ เป็นบุคคล เพราะว่าสามารถมีความสัมพันธ์เกี่ยวกับกฎหมายและลัทธิ เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันในลักษณะที่เป็นรัฐ และการดำรงอยู่ของรัฐถูกำหนดโดยความสัมพันธ์ตามกฏหมายและสิทธิ รัฐจะมีจิตสำนึก มีปัญญา มีเจตนารมณ์ และเป็นบุคคลในทำนองเดียวกันกับที่ปัจเจกชนเป็นบุคคล
๒.๑.๒ รากศัพท์และที่มาของแนวคิดว่าด้วยรัฐในสมัยปัจจุบัน
  • คำว่า "รัฐ" แปลภาษาอังกฤษว่า "State" มีรากศัพท์มาจากคำว่า "Status" ซึ่งเดิมมีความหมายว่าเป็นสถานะของวัตถุหรือลำดับชั้น
  • ประมาณศตวรรษที่ ๑๕ คำว่า State หรือ Status เริ่มมีความหมายที่ชัดเจนขั้นโดยมีความหมายว่า "เป็นรูปแบบเฉพาะอย่างหนึ่งของชุมชนทางการเมือง"
  • นักรัฐศาสตร์ ในสมัยปัจจุบันบางคนมองว่ารัฐในลักษณะที่้ป็ฯสิ่งที่มีความเป็นนามธรรมและพวกมากซ์ซิสต์ได้มองว่ารัฐในฐานนะที่เป็นเครื่องมือของการกดขี่และครอบงำระหว่างชนชั้น
๒.๒ องค์ประกอบเบื้ิองต้นของความเป็นรัฐ
๒.๒.๑ องค์ประกอบเบื้องต้นที่สำคัญของความเป็นรัฐในทัศนะของนักรัฐศาสตร์
  • นักรัฐศาสตร์อเมริกันที่ยึดการศึกษาแนววิเคราาะห์ในเชิงกฎหมายและสถาบัน เห็นว่ารัฐมีคุณสมบัติที่สำคัญ ๕ ประการคือ
  1. ประชากร 
  2. ดินแดน
  3. รัฐบาล
  4. อำนาจอธิปไตย
  5. อิสระภาพ
  • นักรัฐศานสตร์ด้านความสำพันธ์ระหว่างประเทศเช่น Rosenan เห็นว่ารัฐมีองค์ประกอบหลัก ๔ ประการคือ 
  1. มีประชากรอาศัยอยู่อย่างถาวร
  2. มีดินแดนที่ชัดเจน
  3. มีรัฐบาล
  4. มีความสามารถที่จะมีความสัมพันธ์กับรัฐอื่น
๒.๒.๒ ข้อเสนอแน ะเพิ่มเติมของคุณสมบัติเบื้องต้นของความเป็นรัฐ
          Claessen และ Skalnik เห็นว่าคุณสมบัติเบื้งต้นของรัฐยังไม่มีความชัดเจนพอ จึงเสนอเพิ่มเติม
  1. เสนอว่ารัฐจะต้องมีประชากรตั้งแต่ ๕๐๐ คนขึ้นไป
  2. ความเป็นประชาชน ถูกกำหนดโดยการถือกำเนิด หรือ การอยู่อาศัยอย่างถาวร
  3. รัฐบาลมีลักษณะรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง และมีอำนาจพอที่จะรักษกฎหมาย ความเป็นระเบียบ และการป้องกันประเทศ
  4. รัฐจะต้องมีความเป็นเอกราชอย่างน้อยสุดได้แก่ความเป็นเอกราชโดยพฤตินัย(ไม่ถูกแทรกแซงการปกครอง)
  5. ลักษณะของประชากร แสดงให้เห็นว่ามีชนชั้นอย่างน้อย ๒ ชนชั้นคือ ผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง
  6. มีการผลิตสูงพอที่จะทำให้เกิดมูลค่าส่วนเกินสม่ำเสมอเพื่อทำนุบำรุงองค์กร
  7. มีอุดมการณ์ร่วมกันใช้เป็นฐานแห่งความชอบธรรมในการใช้อำนาจปกครองของผู้ปกครอง
๒.๓ ทฤษฏีว่าด้วยการกำเนิคและการกระทำหน้าที่ของรัฐ
๒.๓.๑ ทฤษฏีสัญญาประชาคม 
  • อันที่จริง ทฤษฏีนี้ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง แต่ก็ได้รับความสนใจจากนักวิชาการ
  • นักปรัชญาคนสำคัญที่เสนอความคิดนี้ได้แก่ ฮ็อบ , ล็อค และ รุสโซ 
  • สาระสำคัญของทฤษฏีนี้คือ สภาวะธรรมชาติ ซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่มีมนุษย์อยู่ร่วมกันภายใต้กฎหมายธรรมชาติ ต่อมากฎหมายธรรมชาติไม่สามารถผูกพันธ์ให้มนุษย์อยู่ร่วมกันได้ จึงกลายเป็น สภาวะสงคราม มนุษย์จึงตกลงที่จะสละสิทธิตา่มธรรมชาติบางส่วนให้กับองค์อธิปัตย์กระทำสัญญาร่วมกันจึงเข้าสู่ สภาวะความเป็นรัฐ
๒.๓.๒ แนวความคิดว่าด้วยการกำเนิดและการกระทำหน้าที่ของรัฐในทัศนะของมาร์กซิสต์ 
  • เฮเกล เห็นว่ารัฐเป็นผลผลิตจากการพัฒนาของสังคม เมื่อสังคมพัฒนาถึงระดับหนึ่งแล้วเกิดความขัดแย้งหรือศรัตรูกันอย่างที่ไม่สามารถประนีประนอมกันได้ ความขัดแย้งดังกล่าวคือความขัดแย้งระหว่างชนชั้น ดังนั้นเพื่อไม่ให้ความขัดแย้งนี้รุนแรงจนเป็นอันตรายต่อการอยู่รอดของสังคม จึงจำเป็นต้องมีอำนาจ ขั้นเหนือสังคมเพื่อควบคุมความขัดแย้งนี้  จึงกล่าวได้ว่ารัฐที่เกิดขึ้นจากความจำเป็นเพื่อควบคุม ศัตตรูระหว่างชนชั้นเป็นรัฐที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมือง 
  • มากร์ซ์ เห็นว่ารัฐเป็นเครื่องมือในการกดขี่ของชนชั้นหนึ่งที่มีต่ออีกชนชั้นหนึ่ง เป้าหมายของรัฐคือการสร้างระเบียบขึ้นมาเพื่อให้การกดขี่นี้ถูกกฎหมาย สามารถคงอยู่ต่อได้ และการปะทะจะเบาบางลง
  • Atonio Gramsci ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลี เห็นว่ารัฐ เป็นโครงสร้างเบื้องบนทางอุดมการณ์ รวมถึงระบบการศึกษาและศาสนาด้วย ซึ่งรัฐตามความหมายนี้จะมีอิทธิพลต่อทัศนะคติและสามารถถสร้างการยอมรับ ได้โดยการใช้ "Hegemony" เขามองว่าการครอบงำอำนาจทางปัญญานี้มีความสำึคัญกว่าการใช้กำลังบังคับ
          แนวคิดว่าด้วยกำเนิดและหน้าที่ของรัฐตามทัศนะของมาร์กซิตส์เห็นว่า รัฐเป็นผลผลิตจากการพัฒนาของสังคมเอง เมื่อสังคมพัฒนามาถึงระดับหนึ่งและจะเกิดความขัดแย้งระหว่างชนชั้น จึงจำเป็นต้องมีการใช้อำนาจขึ้นเหนือสังคมเพื่อควบคุมความขัดแย้ง รัฐจึงเกิดขึ้น รัฐคือเครื่องมือในการครอบงำและกดขี่ของชนชั้นหนึ่งที่มีต่ออีกชนชั้นหนึ่ง

๒.๓.๓ ทฤษฏีว่าด้วยระบบชลประทาน
            ได้แก่ทฤษฏีของ Steward และ Wittfogel ซึ่งได้รับอิทธิพลจากความคิดของ Marx เกี่ยวกับรูปแบบการผลิตแบบเอเชีย โดยมีการอธิบายว่า ระบบเศรษฐกิจของสังคมแบบเอเชียมีลักษณะของการเพาะปลูกอย่างกว้่างขวาง จึงมีความจำเป็นในการสร้างและบำรุงรักษาระบบชลประทาน รัฐจึงถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ฝ่ายที่จัดการ

๒.๓.๔ ทฤษฏีพิชิตอำนาจ 

  • เป็นทฤษฏีของ Franz Oppenheimer 
  • ได้แก่ ความคิดที่ว่ารัฐเกิดขึ้นจากคนกลุ่มหนึุ่งใช้กำลังพิชิตชนอีกกลุ่มหนึ่งให้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพวกตน ผู้แพ้ต้องยอมอยู่ภายใต้การปกครองและจ่ายเครื่องบรรณาการให้ผู้ชนะ รัฐได้ถือกำเนิดขึ้นเนื่องจากความจำเป็นในการจัดองค์การเพื่อการปกครอง
๒.๓.๕ แนวความคิดว่าด้วยการกระทำหน้าที่ของรัฐในทัศนะของนักรัฐศาสตร์ในสมัยปัจจุบัน
  • Leslie Lipson รัฐจะต้องมีขึ้นเพื่อสนองตอบความจำเป็นอันเป็นสากล ได้แก่การ พิทักษ์ปกป้อง ความาปลอดภัย หรือความมั่นคงในชีวิตและร่างกายของมนุษย์ ในลำดับต่อมาคือให้ความเป็นระเบียบ และท้ายที่สุดคือให้ึความยุติธรรม
ภาพที่ ๒.๑ แสดงถึงเป้าหมายของรัฐและเครื่องมือที่จะทำให้รัฐบรลุเป้าหมาย
  • Eckstien มีความเห็นว่ารัฐเกิดขึ้นเพื่อเป็นการตอบสนองทางด้านการกระทำหน้าที่ต่อความจาจลวุ่นวายของสังคมที่ครั้งหนึ่งเคยมีบูรภาพ รัฐสมัยใหม่ ที่เกิดขึ้นในยุโรปหลังสมัยกลางได้เกิดขึ้นเพื่อเป็นการตอบสนองต่อความสับสนวุ่นวายอันเนื่องมาจากผลของความเจริญทางด้านการค้าขายและอุตสาหกรรมชาติ ปัจจุบันรัฐกำลังเผชิญกับการท้าทายใหม่ คือการเกิดขึ้นของลัทธิ "บรรษัทนิยมใหม่" รัฐจะต้องกระทำหน้าที่พิเศษทางสังคมที่เหนือกว่าการทำหน้าที่ของบรรษัทหรือกลุ่มต่างๆ ที่อยู่ภายใต้รัฐ หน้าที่ดังกล่าวนี้คือ การกระจายสิ่งที่มีคุณค่าในสังคมเสียใหม่
๒.๔ พัฒนาการของรัฐ
๒.๔.๑ พัฒนาการของรัฐก่อนยุคเกิดขึ้นของสหประชาชาติ
           ตำราของ Jacop และ Libman ได้กล่าวถึงพัฒนาการรูปแบบของรัฐ ออกเป็น ๕ ยุคคือ 
  1. รัฐเผ่าพันธุ์ น่าจะพัฒนาขึ้นมาจากครอบครัวขนาดใหญ่ โดยอาจเริ่มจากหลายครอบครัวที่เป็นเครื่ญาติกันและขยายตัวจนมีขนาดใหญ่ จนเกิดเป็นปกครองที่มีชนชั้น และมีองค์ประกอบของรัฐขึ้น
  2. รัฐจักรวรรดิตะวันออก คือ รัฐสมัยโบราณทางริมฝั่งแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติส ได้แก่ จักรวรรดิเปอร์เซีย จักรวรรดิบาบิโลน จักรวรรดิสุเมเรียและอัสซิเรีย เป็นจักรวรรดิที่ปกครองโดยอ้าางอำนาจอันศักสิทธิของเทพเจ้า
  3. นครรัฐกรีก เป็นรัฐขนาดเล็ก อยู่บนดินแดนประเทศกรีกในปัจจุบัน ประมาณว่ามีอยู่ ๑๕๐ นครรัฐ โดยแต่ละนครรัฐมีรูปแบบการปกครองที่แตกต่างกัน ฮีโรโดตุส  ได้กล่าวถึงการปกครอง ๓ รูปแบบของอารยธรรมกรีกโบราณ คือ การปกครองโดยคนๆเดียวหรือ ราชาธิปไตย การปกครองโดยคนจำนวนน้อยเรียกว่า คณาธิปไตย และการปกครองโดยคนจำนวนมาก เรียกว่า ประชาธิปไตย
  4. จักรวรรดิโรมัน มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม เนื่องจากมีความจำเป็นในการปกครองประชากรจำนวนมาก จักรวรรดิโรมันจึงให้ความสำคัญกับกฏหมายปละมีการตรากฏหมายขึ้นเรียกว่า " Jus Gentium"
  5. รัฐฟิวดัล เป็นรูปแบบของรัฐที่เกิดขึ้นหลังจากที่กรุงโรมแตก เหล่าขุนศึกและขุนนางต่างสร้างป้อมปราสาทของตัวเอง เองตัวเองว่า Lord และบังคับประชาชนให้เป็นทาสติดดิน เรียกว่้า Serf ต้องทำการเกษตร สร้างมูลค่าส่วนเกินให้แก่ Lord กษัติย์เป็นเพียงขุนนางคนหนึ่งที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำของตน นอกจากกษัตริย์และขุนนางแล้ว ยังมีศาสนจักร ที่มีอิทธิพลมากและคอยแย่งชิงอำนาจกันอยู่
๒.๔.๒ รัฐสมัยใหม่หรือ รัฐประชาชาติ
  • รัฐสมัยใหม่หรือรัฐประชาชชาติ ค่อยๆได้รับการพัฒนาขึ้นมาหลังจากอำนาจของสันตะปาปาและศาสนจักร ลดลง ในระยะเริ่มแรก เป็นรัฐที่ปกครองในระบอบกษัตริย์ ต่อมามีการเปลี่ยนแปลง การปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ในปัจจุบันประชาชาติได้กลายเป็นรูปแบบของรัฐที่ขยายไปทั่วโลก ลักษณะที่สำคัญความเป็นรัฐประชาชาติคือ ประชาชนเป็นพลเมืองทุกคนของรัฐ และมีความจงรักภักดีต่อรัฐ
๒.๕ รัฐกับอำนาจอธิปไตย
๒.๕.๑ แนวความคิดเรื่องอำนาจอธิปไตย
  • เป็นแนวความคิดที่ถูกสร้างขึ้นมาสำหรับการสร้างความชอบธรรมในการใช้อำนาจการปกครองของรัฐสมัยใหม่ 
  • Jean Bodin เสนอว่า อำนาจอธิปไตยคืออำนาจที่สุงสุด เหนือพลเมืองและประชาชนที่อาศัยอยู่บนดินแดนของรัฐ และเป็นอำนาจที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้
๒.๕.๒ ความไม่ชัดเจนของแนวความคิดเรื่องอำนาจอธิปไตย

  • แนวความคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยเป็นแนวความคิดที่ไม่ชัดเจนและสับสนอยู่ เนื่องจากคุณสมบัติสำคัญประการหนึ่งคือ อำนาจอะิปไตยไม่สามารถแบ่งแยกได้ ซึ่งหมายความว่าอำนาจสูงสุดจะต้องมีลักษณะรวมศูนย์ไปที่คนๆเดียวหรือกลุ่มเดียวซึ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงทางการเมือง 
  • แนวความคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยยังมีปัญหามากเมือนำเอามาใช้กับการเมืองระหว่างประเทศในปัจจุบัน ซึ่งอำนาจอธิปไตยหมายถึงอำนาจที่สมบูรณ์ที่รัฐมีอยู่เหนือดินแดนและพลเมืองของตน แต่พบว่าปรากฏการณ์แทรกแซงทางการเมืองจากประเทศมหาอำนาจเช่น การบังคับให้ประเทศโลกที่สามออกกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การอ้างความชอบธรรมในการใช้แสนยานุภาพทางทหารให้กลุ่มก่อการร้ายที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีอำนาจอธิปไตย การเกิดขึ้นของบริษัทข้ามชาติ ซึ่งแทบที่จะไม่ได้อยู่ภายอธิปไตยของประเทศใดประเทศหนึ่ง เป็นต้น

๒.๖ วิกฤตการณ์ของรัฐประชาชาติในยุคโลกาภิวัตน์
๒.๖.๑ พัฒนาการของรัฐประชาชาติหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒
  • ประเทศที่มีการปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ยังไม่มีทีท่าว่าจะสลายตัวไปตามแนวคิดของมาร์กและยังมีการปกครองในลักษณะเผด็จการอยู่
  • ประเทศเสรีนิยม หรือประเทศทุนนิยมไม่่ว่าจะเป็นระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยมหรือระบอบสังคมนิยมประชาธิปไตยก็ตามมีแนวโน้มว่ารัฐจะขยายขอบข่ายบทบาทหรือการกระทำหน้าที่ในด้านต่างๆออกไปอย่างกว้างขวาง และในขณะเดียวกันได้มีการพัฒนาขยายด้านโครงสร้างของรัฐออกไปด้วย
  • Richard Scase ได้สรุปแนวดน้มการพัฒนาของรัฐในปี ๑๙๘๐ ดังนี้
  1. ประเทศทุนนิยมตะวันตก รัฐได้เข้ามามีบทบาทในการรักษา เพิ่มพูนและปรับปรุงคุณภาพชีวิตมากขึ้น
  2. รัฐมีลักษณะการกดขี่มากขึ้น เนื่องจากการควบคุมของรัฐทางอ้อมถูกแทนที่โดยหน่วยงานต่างๆ
  3. การทำหน้าที่ต่างๆของรัฐมีลักษณะรวมศูนย์อำนาจยิ่งขึ้น
  4. รัฐได้เข้าไปแทรกแซงกระบวนการผลิตมากขึ้น
  5. เกิดข้อขัดแย้งมากขึ้นระหว่ารัฐกับระบบทุนนิยมโลก
๒.๖.๒  วิกฤตการณ์ของรัฐประชาชาติในยุคโลกาภิวัตน์
  • พัฒนาการของความเจริญทางด้านวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีและการขยายตัวของระบบทุนนิยมของโลกได้ท้าทายต่อหลักการว่าด้วยอำนาจอธิปไตยของรัฐ และมีผลทำให้เกิดความพยายามของมหาอำนาจหรือประชาคมโลกที่จะแทรกแซงพฤติกรรมหรือการกระทำที่ถูกมองว่าไม่เหมาะที่เกิดขึ้นภายในพรมแดนของรัฐต่างๆ 
  • นอกจากนั้นยังเกิดการรวมตัวกันของรัฐเป็นหน่วยทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้น ในขณะเดียวกันเราก็เห็นปรากฏการณ์ของการยึดหดในอำนาจอธิปไตยของรัฐและการเสริมสร้างความเข็มแข็งของท้องถิ่นและการกระทำหน้าที่และบทบาทของภาครัฐหดตัวลง
++++++++++++++ แร้วจ้าาาา บทที่๒ ++++++++++++++

1 ความคิดเห็น:

  1. สนธิสัญญาเวสฟาเลีย (Treaty of Westphalia) ในปี 1648 เป็นจุดเริ่มต้นของ “รัฐสมัยใหม่” (modern state) ผู้ครองรัฐต่างๆ สามารถกำหนดนิกายศาสนาด้วยตนเอง ไม่จำต้องขึ้นกับศาสนจักรอีกต่อไป เป็นการยุติอำนาจฝ่ายโลกของคริสตจักรโรมันคาทอลิกที่มีมาตั้งแต่ยุโรปสมัยกลาง ผู้ปกครองแต่ละคนมีอำนาจสูงสุดเหนือดินแดน รวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างในดินแดนนั้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นประชากร ทรัพยากรต่างๆ รัฐจึงเป็นสิ่งประดิษฐ์คิดค้น สามารถพัฒนาปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
    http://www.chanchaivision.com/2014/12/Modern-State-Primary-Actor-141228.html

    ตอบลบ