วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

การศึกษากระแสหลักการศึกษาที่ไม่สมบูรณ์ ๒

การศึกษาที่สมบูรณ์
การศึกษาที่สมบูรณ์หรือการศึกษาที่แท้จริงนี้ ผู้เขียนไม่ได้คิดหรือนิยามขึ้นมาเองหากแต่มี นักคิด นักเขียน ที่ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องของการศึกษาที่สมบูรณ์นั้นอยู่แล้ว ได้แก่
ท่านพระมหาวุฒิชัย ว.วชิรเมธี ได้กล่าวถึงการศึกษาที่สมบูรณ์ไว้ว่า การศึกษาที่สมบูรณ์นั้นจะต้องครอบคลุม ทั้ง๔ ประการได้แก่
๑.     พัฒนาการทางด้านร่างกายจะต้องมีสุขภาพร่างการที่สมบูรณ์แข็งแรง
๒.     พัฒนาการทางด้านสังคมสามารถเข้าสังคมได้ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
๓.     พัฒนาการทางด้านจิตใจมีจิตใจที่เบิกบาน แจ่มใส มีคุณธรรมจริยธรรม
๔.     พัฒนาการทางด้านปัญญามีความรู้ ทักษะความสามารถ

ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้กล่าวถึงหลักการศึกษาที่สมบูรณ์ไว้ว่า การศึกษาที่สมบูรณ์จะต้องมีองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ 
๑.     มีความฉลาดคือ มีความรู้ความสามารถพอที่จะสามารถประกอบอาชีพได้
๒.     มีเครื่องมือควบคุมความฉลาด มีคุณธรรมจริยธรรมเพื่อใช้ในการความคุมความฉลาด ให้ใช้ไปในทางที่ถูกต้องไม่ใช้ไปในทางที่ผิด
๓.     มีมนุษยธรรม คือ ความเป็นมนุษย์ที่ถูกต้องพอตัว

สอดคล้องกับแนวคิดของท่านปัญญานันทะภิกขุ ได้กล่าวถึงการศึกษาที่สมบูรณ์ว่า
“การศึกษาที่สมบูรณ์เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา เป็นทางให้เกิดหูตาสว่าง มองการณ์ไกล เป็นปัญญาที่มีเหตุผล มีธรรมะคือสติ เป็นต้น คอยเหนี่ยวรั้งความคิดไม่ให้ดำเนินไปผิดทาง”

ตามทัศนะของผู้เขียน เห็นว่าการศึกษาที่สมบูรณ์นั้นจะต้องครอบคลุมทุกด้านของชีวิต นั้นคือการศึกษาจะต้องไม่ยึดติดกับตัว “วิชา”กล่าวคือการศึกษานั้นจะต้องมีการบูรณาการกันระหว่าง หลักวิชาความรู้ กับ หลักการใช้ชีวิต ทุกวิชาจะต้องมีความสอดคล้องกับชีวิต จะต้องมีการปฏิสัมพันธ์กันบูรณาการกัน โดยทุกวิชาจะต้องสามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตจริง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น