วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

การศึกษากระแสหลักการศึกษาที่ไม่สมบูรณ์ ๑





การศึกษากระแสหลักการศึกษาที่ไม่สมบูรณ์ ๑
ผู้เขียน นายวัชรินทร์ ใจจะดี คณะสังคมศาสตร์ สาขาพัฒนาสังคม(บทความนี้เขียนด้วยความรู้อันน้อยนิด มุมมอง ทัศนะความรู้สึก และข้อมูลเพื่อนำเสนออาจารย์วิชา ปัญหาสังคมและประเด็นการพัฒนาครับ)

              รากฐานของเจดีย์คือ อิฐ หากจะทำให้พระเจดีย์อยู่ได้อย่างมั่นคง สง่างาม จำเป็นที่จะต้องมีรากฐานที่แข็งแรง ฉันใดก็ฉันนั้น การพัฒนาประเทศก็เช่นเดียวกัน หากจะพัฒนาประเทศให้มั่นคงได้นั้นจำเป็นที่จะต้องสร้างรากฐานให้เข็มแข็ง มั่นคง รากฐานของประเทศก็คือ คนในประเทศ หากคนในประเทศมีความเข็มแข็ง มั่นคงแล้วการที่จะพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าได้นั้นย่อมเป็นเรื่องง่าย แต่ทว่าการพัฒนาประเทศของไทยกลับไม่ได้เริ่มพัฒนาจากฐานรากของสังคมเพราะนับแต่มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติขึ้น สิ่งแรกที่รัฐพัฒนาคือ การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคต่างๆเพื่อรองรับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เมื่อรากฐานของประเทศซึ่งก็คือประชาชนไม่ได้รับการพัฒนา ก็เปรียบเหมือน พระเจดีย์ที่มีรากฐานไม่มั่นคง ย่อมที่จะล่มลงได้โดยง่าย

ปรัชญาของการพัฒนาสังคมคือ ศูนย์กลางของการพัฒนาทั้งปวง คือ “คน” (ตามความเข้าใจของผู้เขียน) ไม่ว่าจะพัฒนาอะไรก็ตาม จำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาคนเป็นอันดับแรก การจะพัฒนาคนได้นั้นสำคัญที่สุด จะต้องพัฒนาที่ การศึกษา ให้มีความรู้ มีปัญญา  มีความสามารถมากพอที่จะไม่ถูกหลอก ไม่งมงาย และสามรถนำความรู้มาใช้ในทางปฏิบัติแก้ปัญหาในชีวิตได้จริง หากคน ไม่ได้รับการศึกษา ไม่มีปัญญา หรือมีการศึกษามีความรู้แต่ไม่สามารถนำมาใช้ได้จริงในชีวิต แล้วนั้นก็ย่อมเป็นบ่อเกิด หรือเป็นรากเหง้าของปัญหาต่างๆในสังคม ได้

ปัจจุบัน ผู้ที่ได้รับการศึกษาในสังคมไทย มีมากมาย แต่ละปีมีคนเรียนจบปริณญาตรีไม่ต่ำกว่า สองแสน คน เพราะมีสถาบันอุดมศึกษา สาตร์สาขาต่างๆ เกิดขึ้นอย่างมากมาย ทั้งในระบบ นอกระบบ ทั้งของรัฐและของเอกชน แต่ทว่า คนในประเทศ ซึ่งถือเป็นฐานรากของสังคมไทย เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาอย่างมากมายเช่นนี้ แต่ทำไมสภาพสังคมไทยยังมีปัญหาต่างๆเกิดขึ้นอยู่อย่างมากทั้งยังมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น
ปัญหาการฆ่าตัวตายจากสถิติการเก็บข้อมูลของ กรมสุขภาพจิต พบว่า สถิติการฆ่าตัวตายของคนไทย โดยเฉลี่ยอยู่ที่ ประมาณ ๕.๗๗ คนต่อประชากรแสนคน หรือมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จประมาณ ๓,๖๑๒ คนต่อปี และถ้าคิด เฉลี่ยต่อวัน พบว่าในแต่ละวันมีคนฆ่าตัวตายถึง ๑๒ คน หรือเฉลี่ย ๑ คนต่อทุก ๆ ๒ ชั่วโมง (ศูนย์สารสนเทศ กองแผนงาน กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข)
ปัญหาการคอรัปชั่น เห็นได้จาก การจัดอันดับประเทศที่มีการคอรัปชั่นมากที่สุดในแถบเอเชียและแปซิฟิคของ Political and Economic Risk Consultancyหรือ PERC โดยประเทศไทยคะแนน ๗.๖๓ คะแนน สูงเป็นอันดับ ๒ รองจากประเทศอินโดนีเซีย (หนังสือชีวจิต ฉบับที่ ๒๕๖ปีที่ ๑๑)
ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยเรียน จากอัตราเฉลี่ยการคลอดบุตรของมารดาอายุต่ำกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์ สูงเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นอันดับหนึ่งของทวีปเอเชีย คือ ร้อยละ ๑๓.๕๕ ในปี ๒๕๕๒ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนด (ศูนย์เทคโนโลยีและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคม)

ตามทฤษฎี โกลาหล หรือทฤษฏีไร้ระเบียบ ( Chaos theory) ที่กล่าวว่า สภาพการของสังคมนั้นเปราะบาง เหตุเล็กๆ ที่เราไม่ได้สังเกต ไม่ได้เอาใจใส่ ถ้าเกิดขึ้นซ้ำซากมานานเหตุเล็กๆ เหล่านั้น สามารถกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้โดยคาดไม่ถึง อาจพลิกผันเป็นสถานการณ์อื่นได้ หากจะวิเคระห์ตามทฤษฎีนี้แล้ว ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นนี้เกิดจาก ปัญหาหนึ่งและส่งผลให้เกิดอีกปัญหาหนึ่ง ไปเรื่อยๆจนระบาดไปทั่วทั้งสังคม  จากปรัชญาของการพัฒนาสังคมที่กล่าวไว้ว่า คน คือศูนย์กลางของการพัฒนา ฉนั้นตามทัศนของผู้เขียนมองว่า รากเหง้าของปัญหาต่างๆ ก็ คือ ”คน” เพราะคนยังไม่ได้รับการพัฒนาหรือได้รับการพัฒนาที่ไม่ดีพอ เมื่อพูดถึงเรื่องการพัฒนาคน ก็ต้องพูดถึงเรื่องของ สิ่งที่จะพัฒนาคนได้ ซึ่งก็คือ การศึกษา ดังนั้นสาเหตุที่ทำให้สังคมไทยเกิดปัญหาต่างๆมากมายในทุกวันนี้ ก็เป็นเพราะว่า เรามีปัญหาในเรื่องของ ระบบการศึกษานั้นเอง

เมื่อพูดถึงเรื่องการศึกษา ประเด็นที่ผู้เขียนจะกล่าวถึงภายใต้กรอบความคิดที่ว่า ศูนย์กลางของการพัฒนาคือ คน และ คนจะสามารถพัฒนาได้จะต้องอาศัยการศึกษาเป็นหลัก มีอยู่ ๓ ประเด็นคือ
๑.     การศึกษาที่สมบูรณ์
๒.     การศึกษากระแสหลักการศึกษาที่ไม่สมบูรณ์
๓.     การศึกษาทางเลือกทางรอดของสังคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น