วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เค้าโครงบทความวิชาการ

หัวข้อ การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยื่นภายใต้ นิเวศวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป
  1. ความนำ
    • โลกหมุนกลับหรือวิวัฒนาการไปอีกขั้นหนึ่ง
    • เกริ่นเกี่ยวกับ แนวคิดการพัฒนา คนเป็นศูนย์กลาง (คน,ชุมชม,สังคม )
    • เกริ่นนำเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ทำไม คืออะไร แล้วทำอย่างไร
    • เกริ่นเกี่ยวกับนิเวศวิทยาวัฒนธรรม ว่า นิเวศวิทยาวัฒนาธรรมคืออะไร
    • วัตถุประสงค์ของการเขียน วิเคราะห์เพื่อนำเสนอแนวคิดหรือวิธีการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ภายใต้ นิเวศวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป
    • กรอบในการวิเคราะห์ภายใต้  แนวคิด ของฟริจจอป คราปา
    • ลำดับประเด็นการเขียน
  2. วิพากษ์จุดเปลี่ยนแห่งศรรษตวรรษ ของ ฟริจจ๊อป
  3. นิเวศวิทยาวัฒนธรรม แบบเดิม กับที่เปลี่ยนไป(โลกกาภิวัฒ์)
    • ว่า เก่าคืออะไร ใหม่คืออะไร ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เชื่อมโยง... 
    • สาเหตุของปัญหา 
    • การแก้ไข มนุษย์+ ธรรมชาติเชื่อมโยงไป...
  4. การพัฒนาที่ยั่งยืน ทำไม คืออะไร แล้วทำอย่างไร กล่าวเชื่อมไป..แนวคิด
    • แนวคิดพัฒนาจิตใจ ของพวกหมอประเวศ ,ท่านว.วชิระ เมธี ,ท่านพุทธทาส
    • แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยื่น
    • แนวคิดวัฒนธรรมชุมชน ของ ดร.เสรี , นิเวศองค์รวมของฟริจจอป
    • แนวคิดความสมดุลของ  หมอประเวศ
    • แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่
  5. นำเสนอวิธี หรือแนวคิด การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยื่นภายใต้ นิเวศวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป
  6. บทสรุป

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

หน่วยที่ ๓ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพลเมือง

๓.๑  ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพลเมือง
๓.๑.๑ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ชาติ และอำนาจอธิปไตย

  • รัฐ มีผู้คำนิยามที่กล่าวโดย  อริสโตเติ้ล, Schleiermacher, Bluntschi  ในบทที่ ๒
  • คำนิยามของ รัฐ คือ สมาคม หรือประชาคม ซึ่งผูกขาดการมีอำนาจบังคับหมายความว่ามีการรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางอย่างน้อยในระดับใดระดับหนึ่ง และอำนาจนี้สามารถใช้บังคับได้กับทุกคน มีขอบเขตพรมแดนทางภูมิศาสตร์ มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตน และมีประชาชนในฐานะพลเมืองและมีพันธะต้องปฏิบัติต่อรัฐ
  • คำนิยามของ ชาติ เป็นการรวมกลุ่มของประชาชนที่มี ลักษณะทางวัฒนะธรรม ภาษา ประสบการณ์ ทางประวัติศาสตร์ที่คล้ายคลึงกัน ข้อโต้แย้ง แม้ว่าความเป็นชาติจะอาศัยความเหมือนกันทางด้านชาติพันธุ์ของผู้ที่มารวมกันเป็นชาติ แต่อาจมีบางกรณีที่ชาติเป็นที่รวมกันของสมาชิกที่มีความหลากหลายทางชาติพันธ์และศาสนาได้ เช่น USA
  • คำนิยามของอำนาจอธิปตย คือ อำนาจสูงสุดและเด็ดขาดที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้ถูกใช้โดยองค์อธิปัตย์ (มีในบทที่ ๒ โดย จอง โบแดง ,Jean Bodin )
  • ข้อแตกต่างของ รัฐกับชาติ ๑) ชาติเป็นเรื่องของความรู้สึก ความผูกพันธ์กันของสมาชิก เป็นเรื่องของจิตวิทยา เมื่อพูดถึงชาติจะไม่พูดถึงเรื่องรัฐบาล หรือการใช้อำนาจโดยรัฐบาล ๒) รัฐมีพรมแดนที่แน่นอน แต่ขอบเขตหรือพรมแดนของชาติอาจไม่สอดคล้องกับรัฐ ในรัฐๆหนึ่งอาจประกอบด้วยหลายชาติ หรือชาติๆหนึ่งอาจะอยู่คาบเกี่ยวมากกว่าหนึ่งรัฐ
  • ลัทธิชาตินิยม เป็นแนวคิดที่สำคัญในการผลักดันการพัฒนารัฐชาติ เพราะเป็นแนวคิดที่สรา้งความซื่อสัตย์ ความจงรัภักดีของประชากรต่อประชาคมที่เรียกตัวเองว่า ชาติ หรือรัฐชาติ
๓.๑.๒ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครองในสมัยต่างๆ
๑) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครองในสมัยระบบฟิวดัล

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วิชา หลักการพื้นฐานทางรัฐศาสตร์ (หน่วยที่๒)

หน่วยที่ ๒ แนวความคิดว่าด้วยรัฐและอำนาจอธิปไตย
๒.๑ คำนิยามของกรอบแนวคิดว่าด้วยรัฐ
๒.๑.๑ ความหลากหลายของคำนิยามของแนวคิดว่าด้วยรัฐ
          นักวิชาการจากหลฃายสาขา มไ่ว่าจะเป็น นักปรัชญา นักกฎหมาย นักมานุษยวิทยา เป็นต้นต่างให้ความสนใจเรื่อง รัฐ จึงทำให้มีคำนิยามที่หลากหลาย ในปี ๑๙๓๑ มีนักรัฐศาสตร์ท่านหนึ่งอ้างว่าสามารถรวมได้ ถึง ๑๔๕ คำนิยาม
  • อริสโตเติ้ล ให้คำนิยามว่า รัฐคือชุมชนทางการเมืองที่มีสถานะสูงสุดเหนือชุมชนอื่น และรวบรวมเอาชุมชนอื่นๆไว้ทั้งหมด ดังนั้นรัฐจึงต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรลุความดีที่เหนือกว่าชุมชนอื่นๆ ที่อยู่ภายในรัฐ กล่าวคือ รัฐมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือความดี นั้นเอง 
  •  Schleiermacher กล่าวว่า รัฐคือรูปแบบการดำรงชีวิตของประชาชน รัฐถือกำเนิดขึ้นเมื่อประชาชนโดยส่วนรวมเกิดความสำนึกใน ความเป็นเอกภาพ และมีผลทำให้กิจกรรมทางสังคมทั้งหลายมีความเป็นเหตุเป็นผลมากกว่าการเกิดขึ้นโดยสัญชาตญาณ  
  •  Bluntschi เห็นว่ามนุษย์ เป็นบุคคล เพราะว่าสามารถมีความสัมพันธ์เกี่ยวกับกฎหมายและลัทธิ เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันในลักษณะที่เป็นรัฐ และการดำรงอยู่ของรัฐถูกำหนดโดยความสัมพันธ์ตามกฏหมายและสิทธิ รัฐจะมีจิตสำนึก มีปัญญา มีเจตนารมณ์ และเป็นบุคคลในทำนองเดียวกันกับที่ปัจเจกชนเป็นบุคคล
๒.๑.๒ รากศัพท์และที่มาของแนวคิดว่าด้วยรัฐในสมัยปัจจุบัน
  • คำว่า "รัฐ" แปลภาษาอังกฤษว่า "State" มีรากศัพท์มาจากคำว่า "Status" ซึ่งเดิมมีความหมายว่าเป็นสถานะของวัตถุหรือลำดับชั้น
  • ประมาณศตวรรษที่ ๑๕ คำว่า State หรือ Status เริ่มมีความหมายที่ชัดเจนขั้นโดยมีความหมายว่า "เป็นรูปแบบเฉพาะอย่างหนึ่งของชุมชนทางการเมือง"
  • นักรัฐศาสตร์ ในสมัยปัจจุบันบางคนมองว่ารัฐในลักษณะที่้ป็ฯสิ่งที่มีความเป็นนามธรรมและพวกมากซ์ซิสต์ได้มองว่ารัฐในฐานนะที่เป็นเครื่องมือของการกดขี่และครอบงำระหว่างชนชั้น
๒.๒ องค์ประกอบเบื้ิองต้นของความเป็นรัฐ
๒.๒.๑ องค์ประกอบเบื้องต้นที่สำคัญของความเป็นรัฐในทัศนะของนักรัฐศาสตร์
  • นักรัฐศาสตร์อเมริกันที่ยึดการศึกษาแนววิเคราาะห์ในเชิงกฎหมายและสถาบัน เห็นว่ารัฐมีคุณสมบัติที่สำคัญ ๕ ประการคือ
  1. ประชากร 
  2. ดินแดน
  3. รัฐบาล
  4. อำนาจอธิปไตย
  5. อิสระภาพ
  • นักรัฐศานสตร์ด้านความสำพันธ์ระหว่างประเทศเช่น Rosenan เห็นว่ารัฐมีองค์ประกอบหลัก ๔ ประการคือ 
  1. มีประชากรอาศัยอยู่อย่างถาวร
  2. มีดินแดนที่ชัดเจน
  3. มีรัฐบาล
  4. มีความสามารถที่จะมีความสัมพันธ์กับรัฐอื่น
๒.๒.๒ ข้อเสนอแน ะเพิ่มเติมของคุณสมบัติเบื้องต้นของความเป็นรัฐ
          Claessen และ Skalnik เห็นว่าคุณสมบัติเบื้งต้นของรัฐยังไม่มีความชัดเจนพอ จึงเสนอเพิ่มเติม
  1. เสนอว่ารัฐจะต้องมีประชากรตั้งแต่ ๕๐๐ คนขึ้นไป
  2. ความเป็นประชาชน ถูกกำหนดโดยการถือกำเนิด หรือ การอยู่อาศัยอย่างถาวร
  3. รัฐบาลมีลักษณะรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง และมีอำนาจพอที่จะรักษกฎหมาย ความเป็นระเบียบ และการป้องกันประเทศ
  4. รัฐจะต้องมีความเป็นเอกราชอย่างน้อยสุดได้แก่ความเป็นเอกราชโดยพฤตินัย(ไม่ถูกแทรกแซงการปกครอง)
  5. ลักษณะของประชากร แสดงให้เห็นว่ามีชนชั้นอย่างน้อย ๒ ชนชั้นคือ ผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง
  6. มีการผลิตสูงพอที่จะทำให้เกิดมูลค่าส่วนเกินสม่ำเสมอเพื่อทำนุบำรุงองค์กร
  7. มีอุดมการณ์ร่วมกันใช้เป็นฐานแห่งความชอบธรรมในการใช้อำนาจปกครองของผู้ปกครอง
๒.๓ ทฤษฏีว่าด้วยการกำเนิคและการกระทำหน้าที่ของรัฐ
๒.๓.๑ ทฤษฏีสัญญาประชาคม 
  • อันที่จริง ทฤษฏีนี้ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง แต่ก็ได้รับความสนใจจากนักวิชาการ
  • นักปรัชญาคนสำคัญที่เสนอความคิดนี้ได้แก่ ฮ็อบ , ล็อค และ รุสโซ 
  • สาระสำคัญของทฤษฏีนี้คือ สภาวะธรรมชาติ ซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่มีมนุษย์อยู่ร่วมกันภายใต้กฎหมายธรรมชาติ ต่อมากฎหมายธรรมชาติไม่สามารถผูกพันธ์ให้มนุษย์อยู่ร่วมกันได้ จึงกลายเป็น สภาวะสงคราม มนุษย์จึงตกลงที่จะสละสิทธิตา่มธรรมชาติบางส่วนให้กับองค์อธิปัตย์กระทำสัญญาร่วมกันจึงเข้าสู่ สภาวะความเป็นรัฐ
๒.๓.๒ แนวความคิดว่าด้วยการกำเนิดและการกระทำหน้าที่ของรัฐในทัศนะของมาร์กซิสต์ 
  • เฮเกล เห็นว่ารัฐเป็นผลผลิตจากการพัฒนาของสังคม เมื่อสังคมพัฒนาถึงระดับหนึ่งแล้วเกิดความขัดแย้งหรือศรัตรูกันอย่างที่ไม่สามารถประนีประนอมกันได้ ความขัดแย้งดังกล่าวคือความขัดแย้งระหว่างชนชั้น ดังนั้นเพื่อไม่ให้ความขัดแย้งนี้รุนแรงจนเป็นอันตรายต่อการอยู่รอดของสังคม จึงจำเป็นต้องมีอำนาจ ขั้นเหนือสังคมเพื่อควบคุมความขัดแย้งนี้  จึงกล่าวได้ว่ารัฐที่เกิดขึ้นจากความจำเป็นเพื่อควบคุม ศัตตรูระหว่างชนชั้นเป็นรัฐที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมือง 
  • มากร์ซ์ เห็นว่ารัฐเป็นเครื่องมือในการกดขี่ของชนชั้นหนึ่งที่มีต่ออีกชนชั้นหนึ่ง เป้าหมายของรัฐคือการสร้างระเบียบขึ้นมาเพื่อให้การกดขี่นี้ถูกกฎหมาย สามารถคงอยู่ต่อได้ และการปะทะจะเบาบางลง
  • Atonio Gramsci ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลี เห็นว่ารัฐ เป็นโครงสร้างเบื้องบนทางอุดมการณ์ รวมถึงระบบการศึกษาและศาสนาด้วย ซึ่งรัฐตามความหมายนี้จะมีอิทธิพลต่อทัศนะคติและสามารถถสร้างการยอมรับ ได้โดยการใช้ "Hegemony" เขามองว่าการครอบงำอำนาจทางปัญญานี้มีความสำึคัญกว่าการใช้กำลังบังคับ
          แนวคิดว่าด้วยกำเนิดและหน้าที่ของรัฐตามทัศนะของมาร์กซิตส์เห็นว่า รัฐเป็นผลผลิตจากการพัฒนาของสังคมเอง เมื่อสังคมพัฒนามาถึงระดับหนึ่งและจะเกิดความขัดแย้งระหว่างชนชั้น จึงจำเป็นต้องมีการใช้อำนาจขึ้นเหนือสังคมเพื่อควบคุมความขัดแย้ง รัฐจึงเกิดขึ้น รัฐคือเครื่องมือในการครอบงำและกดขี่ของชนชั้นหนึ่งที่มีต่ออีกชนชั้นหนึ่ง

๒.๓.๓ ทฤษฏีว่าด้วยระบบชลประทาน
            ได้แก่ทฤษฏีของ Steward และ Wittfogel ซึ่งได้รับอิทธิพลจากความคิดของ Marx เกี่ยวกับรูปแบบการผลิตแบบเอเชีย โดยมีการอธิบายว่า ระบบเศรษฐกิจของสังคมแบบเอเชียมีลักษณะของการเพาะปลูกอย่างกว้่างขวาง จึงมีความจำเป็นในการสร้างและบำรุงรักษาระบบชลประทาน รัฐจึงถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ฝ่ายที่จัดการ

๒.๓.๔ ทฤษฏีพิชิตอำนาจ 

  • เป็นทฤษฏีของ Franz Oppenheimer 
  • ได้แก่ ความคิดที่ว่ารัฐเกิดขึ้นจากคนกลุ่มหนึุ่งใช้กำลังพิชิตชนอีกกลุ่มหนึ่งให้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพวกตน ผู้แพ้ต้องยอมอยู่ภายใต้การปกครองและจ่ายเครื่องบรรณาการให้ผู้ชนะ รัฐได้ถือกำเนิดขึ้นเนื่องจากความจำเป็นในการจัดองค์การเพื่อการปกครอง
๒.๓.๕ แนวความคิดว่าด้วยการกระทำหน้าที่ของรัฐในทัศนะของนักรัฐศาสตร์ในสมัยปัจจุบัน
  • Leslie Lipson รัฐจะต้องมีขึ้นเพื่อสนองตอบความจำเป็นอันเป็นสากล ได้แก่การ พิทักษ์ปกป้อง ความาปลอดภัย หรือความมั่นคงในชีวิตและร่างกายของมนุษย์ ในลำดับต่อมาคือให้ความเป็นระเบียบ และท้ายที่สุดคือให้ึความยุติธรรม
ภาพที่ ๒.๑ แสดงถึงเป้าหมายของรัฐและเครื่องมือที่จะทำให้รัฐบรลุเป้าหมาย
  • Eckstien มีความเห็นว่ารัฐเกิดขึ้นเพื่อเป็นการตอบสนองทางด้านการกระทำหน้าที่ต่อความจาจลวุ่นวายของสังคมที่ครั้งหนึ่งเคยมีบูรภาพ รัฐสมัยใหม่ ที่เกิดขึ้นในยุโรปหลังสมัยกลางได้เกิดขึ้นเพื่อเป็นการตอบสนองต่อความสับสนวุ่นวายอันเนื่องมาจากผลของความเจริญทางด้านการค้าขายและอุตสาหกรรมชาติ ปัจจุบันรัฐกำลังเผชิญกับการท้าทายใหม่ คือการเกิดขึ้นของลัทธิ "บรรษัทนิยมใหม่" รัฐจะต้องกระทำหน้าที่พิเศษทางสังคมที่เหนือกว่าการทำหน้าที่ของบรรษัทหรือกลุ่มต่างๆ ที่อยู่ภายใต้รัฐ หน้าที่ดังกล่าวนี้คือ การกระจายสิ่งที่มีคุณค่าในสังคมเสียใหม่
๒.๔ พัฒนาการของรัฐ
๒.๔.๑ พัฒนาการของรัฐก่อนยุคเกิดขึ้นของสหประชาชาติ
           ตำราของ Jacop และ Libman ได้กล่าวถึงพัฒนาการรูปแบบของรัฐ ออกเป็น ๕ ยุคคือ 
  1. รัฐเผ่าพันธุ์ น่าจะพัฒนาขึ้นมาจากครอบครัวขนาดใหญ่ โดยอาจเริ่มจากหลายครอบครัวที่เป็นเครื่ญาติกันและขยายตัวจนมีขนาดใหญ่ จนเกิดเป็นปกครองที่มีชนชั้น และมีองค์ประกอบของรัฐขึ้น
  2. รัฐจักรวรรดิตะวันออก คือ รัฐสมัยโบราณทางริมฝั่งแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติส ได้แก่ จักรวรรดิเปอร์เซีย จักรวรรดิบาบิโลน จักรวรรดิสุเมเรียและอัสซิเรีย เป็นจักรวรรดิที่ปกครองโดยอ้าางอำนาจอันศักสิทธิของเทพเจ้า
  3. นครรัฐกรีก เป็นรัฐขนาดเล็ก อยู่บนดินแดนประเทศกรีกในปัจจุบัน ประมาณว่ามีอยู่ ๑๕๐ นครรัฐ โดยแต่ละนครรัฐมีรูปแบบการปกครองที่แตกต่างกัน ฮีโรโดตุส  ได้กล่าวถึงการปกครอง ๓ รูปแบบของอารยธรรมกรีกโบราณ คือ การปกครองโดยคนๆเดียวหรือ ราชาธิปไตย การปกครองโดยคนจำนวนน้อยเรียกว่า คณาธิปไตย และการปกครองโดยคนจำนวนมาก เรียกว่า ประชาธิปไตย
  4. จักรวรรดิโรมัน มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม เนื่องจากมีความจำเป็นในการปกครองประชากรจำนวนมาก จักรวรรดิโรมันจึงให้ความสำคัญกับกฏหมายปละมีการตรากฏหมายขึ้นเรียกว่า " Jus Gentium"
  5. รัฐฟิวดัล เป็นรูปแบบของรัฐที่เกิดขึ้นหลังจากที่กรุงโรมแตก เหล่าขุนศึกและขุนนางต่างสร้างป้อมปราสาทของตัวเอง เองตัวเองว่า Lord และบังคับประชาชนให้เป็นทาสติดดิน เรียกว่้า Serf ต้องทำการเกษตร สร้างมูลค่าส่วนเกินให้แก่ Lord กษัติย์เป็นเพียงขุนนางคนหนึ่งที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำของตน นอกจากกษัตริย์และขุนนางแล้ว ยังมีศาสนจักร ที่มีอิทธิพลมากและคอยแย่งชิงอำนาจกันอยู่
๒.๔.๒ รัฐสมัยใหม่หรือ รัฐประชาชาติ
  • รัฐสมัยใหม่หรือรัฐประชาชชาติ ค่อยๆได้รับการพัฒนาขึ้นมาหลังจากอำนาจของสันตะปาปาและศาสนจักร ลดลง ในระยะเริ่มแรก เป็นรัฐที่ปกครองในระบอบกษัตริย์ ต่อมามีการเปลี่ยนแปลง การปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ในปัจจุบันประชาชาติได้กลายเป็นรูปแบบของรัฐที่ขยายไปทั่วโลก ลักษณะที่สำคัญความเป็นรัฐประชาชาติคือ ประชาชนเป็นพลเมืองทุกคนของรัฐ และมีความจงรักภักดีต่อรัฐ
๒.๕ รัฐกับอำนาจอธิปไตย
๒.๕.๑ แนวความคิดเรื่องอำนาจอธิปไตย
  • เป็นแนวความคิดที่ถูกสร้างขึ้นมาสำหรับการสร้างความชอบธรรมในการใช้อำนาจการปกครองของรัฐสมัยใหม่ 
  • Jean Bodin เสนอว่า อำนาจอธิปไตยคืออำนาจที่สุงสุด เหนือพลเมืองและประชาชนที่อาศัยอยู่บนดินแดนของรัฐ และเป็นอำนาจที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้
๒.๕.๒ ความไม่ชัดเจนของแนวความคิดเรื่องอำนาจอธิปไตย

  • แนวความคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยเป็นแนวความคิดที่ไม่ชัดเจนและสับสนอยู่ เนื่องจากคุณสมบัติสำคัญประการหนึ่งคือ อำนาจอะิปไตยไม่สามารถแบ่งแยกได้ ซึ่งหมายความว่าอำนาจสูงสุดจะต้องมีลักษณะรวมศูนย์ไปที่คนๆเดียวหรือกลุ่มเดียวซึ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงทางการเมือง 
  • แนวความคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยยังมีปัญหามากเมือนำเอามาใช้กับการเมืองระหว่างประเทศในปัจจุบัน ซึ่งอำนาจอธิปไตยหมายถึงอำนาจที่สมบูรณ์ที่รัฐมีอยู่เหนือดินแดนและพลเมืองของตน แต่พบว่าปรากฏการณ์แทรกแซงทางการเมืองจากประเทศมหาอำนาจเช่น การบังคับให้ประเทศโลกที่สามออกกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การอ้างความชอบธรรมในการใช้แสนยานุภาพทางทหารให้กลุ่มก่อการร้ายที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีอำนาจอธิปไตย การเกิดขึ้นของบริษัทข้ามชาติ ซึ่งแทบที่จะไม่ได้อยู่ภายอธิปไตยของประเทศใดประเทศหนึ่ง เป็นต้น

๒.๖ วิกฤตการณ์ของรัฐประชาชาติในยุคโลกาภิวัตน์
๒.๖.๑ พัฒนาการของรัฐประชาชาติหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒
  • ประเทศที่มีการปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ยังไม่มีทีท่าว่าจะสลายตัวไปตามแนวคิดของมาร์กและยังมีการปกครองในลักษณะเผด็จการอยู่
  • ประเทศเสรีนิยม หรือประเทศทุนนิยมไม่่ว่าจะเป็นระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยมหรือระบอบสังคมนิยมประชาธิปไตยก็ตามมีแนวโน้มว่ารัฐจะขยายขอบข่ายบทบาทหรือการกระทำหน้าที่ในด้านต่างๆออกไปอย่างกว้างขวาง และในขณะเดียวกันได้มีการพัฒนาขยายด้านโครงสร้างของรัฐออกไปด้วย
  • Richard Scase ได้สรุปแนวดน้มการพัฒนาของรัฐในปี ๑๙๘๐ ดังนี้
  1. ประเทศทุนนิยมตะวันตก รัฐได้เข้ามามีบทบาทในการรักษา เพิ่มพูนและปรับปรุงคุณภาพชีวิตมากขึ้น
  2. รัฐมีลักษณะการกดขี่มากขึ้น เนื่องจากการควบคุมของรัฐทางอ้อมถูกแทนที่โดยหน่วยงานต่างๆ
  3. การทำหน้าที่ต่างๆของรัฐมีลักษณะรวมศูนย์อำนาจยิ่งขึ้น
  4. รัฐได้เข้าไปแทรกแซงกระบวนการผลิตมากขึ้น
  5. เกิดข้อขัดแย้งมากขึ้นระหว่ารัฐกับระบบทุนนิยมโลก
๒.๖.๒  วิกฤตการณ์ของรัฐประชาชาติในยุคโลกาภิวัตน์
  • พัฒนาการของความเจริญทางด้านวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีและการขยายตัวของระบบทุนนิยมของโลกได้ท้าทายต่อหลักการว่าด้วยอำนาจอธิปไตยของรัฐ และมีผลทำให้เกิดความพยายามของมหาอำนาจหรือประชาคมโลกที่จะแทรกแซงพฤติกรรมหรือการกระทำที่ถูกมองว่าไม่เหมาะที่เกิดขึ้นภายในพรมแดนของรัฐต่างๆ 
  • นอกจากนั้นยังเกิดการรวมตัวกันของรัฐเป็นหน่วยทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้น ในขณะเดียวกันเราก็เห็นปรากฏการณ์ของการยึดหดในอำนาจอธิปไตยของรัฐและการเสริมสร้างความเข็มแข็งของท้องถิ่นและการกระทำหน้าที่และบทบาทของภาครัฐหดตัวลง
++++++++++++++ แร้วจ้าาาา บทที่๒ ++++++++++++++

วิชา หลักการพื้นฐานทางรัฐศาสตร์ (หน่วยที่๑)

หน่วยที่ ๑ ลักษณะและขอบข่ายของรัฐศาสตร์
๑.๑ แนวคิดและความหมายของรัฐศาสตร์ 
๑.๑.๑ แนวคิดเชิงปรัชญา เชิงสถาบันและโครงสร้าง รวมทั้งเชิงระบบ 
๑) การศึกษารัฐศาสตร์ตาม “แนวคิดเชิงปรัชญา” 
          เป็นการศึกษารัฐศาสตร์ตามแนวคิดเชิงปรัชญาของนักปราชญ์ ที่มุ่งเสนอแนะแสวงหา”สิ่งที่ควรจะเป็น”หรือ”สิ่งที่พึ่งปรารถนา”
  • โสกราตีส ตั้งคำถามเกี่ยวกับความดี ความยุติธรรม และเป้าหมาของรัฐ ซึ่งคำถามเหล่านี้เป็นแนวทางของปรัชญาการเมืองที่พยายามแสวงหารูปแบบการกระทำหรือกิจกรรม ระเบียบแบบแผนทางการเมืองที่ถูกต้องและดีงาม 
  • เพลโต เสนอในงานเขียน “อุดมรัฐ”(Republic) ว่ารัฐในอุดมคติจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมี “ราชาปราชญ์”(Philosopher King) 
  • อริสโตเติล เสนอในงานเขียน “การเมือง”(Politic) ว่า รัฐในอุดมคติ คือ “รัฐที่มีการปกครองระบอบอภิชนาธิปไตย” เน้นคุณสมบัติของคนกับการปกครองตามสัดส่วนที่ยึดถือความดีเป็นหลัก โดยพิจารณาจากจำนวนผู้ปกครองและเป้าหมายในการใช้อำนาจ เป็นหลัก 
  • มาเคียเวลลี เสนอในงานเขีนเรื่อง "เจ้า”(The Prince) ว่าการเมืองเป็นเรื่องของศิลปะการใช้อำนาจ เป้าหมายของการเมืองอยู่ที่ผลประโยชน์ส่วนรวม เพื่อเป้าหมายดังกล่าวผู้ปกครองย่อมใช้วิธีที่ไม่มีศีลธรรมได้ “เข็มแข็งดุจราชสีห์ เจ้าเลห์ดั่งสุนัขจิ้งจอก” 
  • โธมัส ฮ้อบส์ เสนอในงานเขียน “Leviathan” ว่า มนุษย์นั้นอยู่ภายใต้กฎของธรรมชาติที่แสวงหาความมั่นคงและปลอดภัย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดั่งกล่าวมนุษย์จึงต้องสละสิทธิ์ตามธรรมชาติ บางส่วนแก่ผู้ปกครองหรือองค์อธิปัตย์ 
  • จอห์น ล็อค เสนอในงานเขียน The Second Treatise of Civil Government ว่า รัฐบาลที่ดีเกิดคือรัฐบาลที่เกิดจากการทำ ”สัญญาประชาคม” (Social Contract) เพื่อทำหน้าที่เป็นองค์กรในการใช้อำนาจส่วนกลางร่วม หากไม่สามรถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพประชาชนสามารถเปลี่ยนแปลงรัฐบาลได้ + คาร์ลมากซ์ เสนองานเขียน The Communist Manifesto ว่ารัฐเป็นเครื่องมือที่ชนชั้นนายทุนกดขี่ ข่มเหง ชนชั้นกรรมมาชีพ สังคมที่ดี คือ “สังคมคอมมิวนิสต์”ที่ปราศจากรัฐและผู้ปกครองโดยที่ทุกคนมีความเสมอภาคกัน 
          แนวคิดเชิงปรัชญา เป็นรากฐานสำคัญของการสร้างทฤษฎีและลัทธิอุดมการณ์เกี่ยวกับรัฐและการเมือง  การปกครอง

๒) การศึกษารัฐศาสตร์ตาม “แนวคิดเชิงสถาบันและโครงสร้าง” 
  • มุ่งอธิบายว่ารัฐและการปกครองที่ดีจะต้องเป็นรัฐที่มีสมรรถนะ เสถียรภาพและมีการแบ่งหน้าที่กันทำตามความชำนาญเฉพาะด้านในการทำหน้าที่ของสถาบันการเมืองการปกครอง 
  • รวมทั้งเพื่อ ถ่วงดุลอำนาจระหว่างสถาบันด้วยกันเอง โดยเฉพาะ สถาบันนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ 
  • จึงเป็นการศึกษาที่เน้นแบบแผนกิจกรรมหรือการกระทำในรูปของกลุ่มหรือองค์กรที่จัดตั้งทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ 
  • เพื่อจุดมุ่งหมายในการจัดระเบียบ จัดสรรผลประโยชน์และยุติปัญหาข้อขัดแย้งในสังคม 
  • แนวคิดเชิงสถาบันและโครงสร้าง เป็นรากฐานสำคัญของการสร้างแบบแผนกิจกรรม ระเบียบความสัมพันธ์ ขอบเขตอำนาจ 
๓) การศึกษารัฐศาสตร์ตาม “แนวคิดเชิงระบบ” 
  • มุ่งอธิบายว่า รัฐและการปกครองที่ดีนั้นจะต้องประกอบด้วยส่วนย่อยต่างๆที่มีการทำงานอย่างเป็นลำดับขั้น มีการประสาน สอดคล้อง มีปฏิสัมพันธ์และการปรับตัว แลส่งผลต่อสมรรถภาพโดยรวมของทั้งระบบ 
  • แนวคิดเชิงระบบ เป็นรากฐานของการจัดจำแนกปัจจัยส่วนประกอบ การลำดับขั้นตอนการทำงาน และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของกลไก กระบวนการส่วนย่อยต่างๆ ภายในระบบการเมืองไทย 
๑.๑.๒ ความหมายของรัฐศาสตร์ 
           มี ๓ ความหมายคือ ความเป็นศาสตร์เกี่ยวกับรัฐ เกี่ยวกับการปกครอง และเกี่ยวกับการเมือง ทั้ง ๓ ความหมายมีเป้าหมายเหมือนกันคือ การอธิบายและเสนอแนวทางในการสถาปนารัฐและการปกครองที่ดี ซึ่งสามารถจัดสรรหรือแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่กลุ่มชนต่างๆได้อย่างทั่วหน้า


๑) ความเป็นศาสตร์เกี่ยวกับรัฐ 
  • มุ่งอธิบายเกี่ยวกับรัฐในมิติต่างๆ เช่นการกำเนิด องค์ประกอบ หน้าที่และจุดมุ่งหมายของรัฐ พัฒนาการ รูปแบบ โครงสร้าง 
  • การกำเนิดของรัฐ ศึกษาในหลายทฤษฏี ได้แก่ทฤษฏีเทวสิทธิ์ ทฤษฏีสัญญาประชาคม ทฤษฏีกำลัง ทฤษฏีธรรมชาติ เป็นต้น 
  • ศึกษาโครงสร้างของรัฐ โครงสร้างของรัฐบาล ระบบกลไกราชการ ชนชั้นนำทางอำนาจการปกครองและเศรษฐกิจ โครงสร้างทางอุดมการณ์ 
  • ศึกษาอำนาจอธิปไตยของรัฐ ได้แก่ อำนาจอธิปไตยภายในรัฐซึ่งเน้นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ และอำนาจภายนอกรัฐซึ่งเน้นเอกราช 
  • ศึกษาสิทธิเสรีภาพ ของประชาชน ได้แก่การรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
๒) ความเป็นศาสตร์เกี่ยวกับการปกครอง 
  • มุ่งอธิบายเกี่ยวกับอำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ รูปแบบและกลไกสถาบันในการปกครองของรัฐ แบบแผนและกระบวนการในการปกครองของรัฐ ความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างองค์กรปกครองส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่น
  • ศึกษากระบวนการตราและบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
  • การอธิบายเกี่ยวกับ อำนาจสูงสุดในการปกครองของรัฐ ได้แก่ การกำหนดขึ้น ความเป็นเจ้าของ และวิธีการนำอำนาจไปใช้
๓) ความเป็นศาสตร์เกี่ยวกับการเมือง
  • มุ่งอธิบายเกี่ยวกับลัทธิทางการเมือง โครงสร้างสถาบันและการทำหน้าที่ของสถาบันทางการเมือง พัฒนาการทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมือง กระบวนการทางการเมือง การตรวจสอบทางการเมือง การควบคุมโทษทางการเมือง 
๑.๑.๓ ความแตกต่างและความคล้ายคลึงระหว่างรัฐศาสตร์กับการเมือง 
  • รัฐศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับ รัฐ การปกครอง และการเมือง ดังนั้นการเมือง จึงเป็นส่วนหนึ่งของรัฐศาสตร์ 
  • ข้อแตกต่างระหว่างรัฐศาสตร์กับการเมืองนั้น จุดสำคัญอยู่ที่ ขอบเขตของการศึกษา 
  • รัฐศาสตร์มีขอบเขตการศึกษาที่กว้าง คลอบคลุมมากกว่า การเมือง ขณะที่การเมืองในมีขอบเขตที่แคบและละเอียดกว่า 
  • เช่น เมื่อกล่าวถึงคำความ "อำนาจ” รัฐศาสตร์จะสนใจถึงอำนาอธิปไตยของรัฐ กระบวนวิธีการใช้อำนาจสูงสุดในการปกครอง และกระบวนวิธีในการยึดกุมอำนาจหรือควบคุมอำนาจนั้นด้วย แต่ถ้าเป็นการเมืองจะสนใจเฉพาะกระบวนวิธีในการยึดกุมอำนาจหรือควบคุมอำนาจเท่านั้น 
  • การเมืองมีจุดเด่นคือ สามารถเพิ่มความละเอียดลึกซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ละเอียดและแยกย่อยเฉพาะด้านได้มากขึ้น
๑.๒ พัฒนาการของรัฐศาสตร์ 
๑.๒.๑ ความเป็นมาของรัฐศาสตร์
            เดิมเป็นแขนงของสังคมศาสตร์ จำแนกได้ ๕ ยุค คือ 
๑) รัฐศาสตร์ยุคสมัยที่เน้นปรัชญา (๕๐๐-๓๐๐ ก่อนคคริสต์สักการ) 
  • เกิดขั้นใน ยุคอารยธรรมกรีกโบราณ โดยอิทธิพลทางความคิดของนักปราชญ์ที่สนใจเกี่ยวกับ รัฐ การปกครอง และการเมือง 
  • มุ่งแสวงหาเป้าหมายอันพึ่งปรารถนา โดยอาศัยบรรทัดฐานเชิงคุณค่านิยมในทางศีลธรรมและจริยธรรมเป็นเครื่องแยกระหว่างดีกับเลว
  • มีนักคิดคนสำคัญได้แก่ เพลโต(บิดาปรัชญาการเมืองเสนอ ราชาปราชญ์),อริสโตเติล(บิดาวิชารัฐศาสตร์)เพราะเป็นคนแรกที่แยกรัฐศาสตร์ออกจากสังคมศาสตร์,
  • เน้นการศึกษาในเชิงปรัชญาและศีลธรรม ได้รับอิทธิพลทางความคิดในรูปแบบตำรา คำสอน และบทสนทนา 
๒) รัฐศาสตร์ในยุคสมัยที่เน้นกฎหมาย
  • เกิดขึ้นในอาณาจักรโรมัน โดยมีการเชื่อมโยงปรัชญากรีกกับ ความคิดทางการเมืองของตะวันตก
  • มุ่งสร้างความผูกพันระหว่างมนุษย์ที่เท่าเทียมกันทั้งโลกเหนือความผูกพันเฉพาะชุมชน อิงบรรทัดฐานของกฎธรรมชาติศักดิ์ศรีและความเสมอภาคของมนุษย์   
  • ถือว่า กฎหมาย คือแกนของวิชารัฐศาสตร์ เพราะผู้นำเป็นทหาร รวบรวมดินแดนต่างๆเข้ามาอยู่ เขตอำนาจการปกคราองเดียวกัน กฎหมายจึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุม 
  • มีการประมวลกฎหมายขึ้น ในสมัยพระจักรพรรดิจัสติเนียน ค.ศ.๕๒๗- ๕๖๕
  • มีการผสมผสานปรัชญากรีกจากสำนักสโตอิค กับความคิดทางการเมืองของตะวันตกที่เน้นความสัมพันธ์และความเสมอภาคและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ จนกลายเป็นรากฐานทางกฎหมายและรัฐธรรมนูญ
๓) รัฐศาสตร์ในสมัยที่เน้นศาสนา 
  • มุ่งสร้างจักรภพโลกแห่งศาสนาเดียว อิงบรรทัดฐานของหลักธรรมคำสอนของคริสต์ศาสนาและอิทธิพลของ ศาสนจักรเหนืออาณาจักร 
  • เกิดขึ้นยุคศักดินาหรือยุโรปยุคกลาง 
  • รัฐศาสตร์ในยุคนี้มีความผูกพันกับระบบจริยธรรมด้วย
๔) รัฐศาสตร์ในสมัยที่เน้นอำนาจ
  • มุ่งวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับศิลปะในการใช้อำนาจและรักษาอำนาจ อิงบรรทัดฐนของความมั่นคงเข็มแข็งของอำนาจมากกว่าจรยธรรมหรือศีลธรรม
๕) รัฐศาสตร์ในสมัยที่เน้นการพัฒนาทางการเมืองและการเมืองเปรียบเทียบ
  • มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจและการใช้ประโยชน์ในการพัฒนา อิงบรรทัดฐานของการสร้างทฤษฏี การสร้างหลักการทงวิทยาศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ แนวโน้มในอนาคต + ในยุคหลังความทันสมัยจะเน้นการแก้ไขปัญหาสำคัญของประชาชนการเมืองโลก ตอบสนองความต้องการและยกระดบมาตรฐานคุณภาพชีวิตของมนุษยชาติในภาคประชาชนมากกว่าองค์กรของรัฐ
๑.๒.๒ ขอบข่ายของรัฐศาสตร์ 
  • มีแนวโน้มว่าจะขยายขอบข่ายออกไปมากขึ้น ทั้งด้านเทคนิควิธีการศึกษา เนื้อหาสาระและเป้าหมายการศึกษา ซึ่งครอบคลุมทังการเมืองทั่วไป เรื่องทฤษฎีและประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง เรื่องการเมืองเปรียบเทียบ
๑.๒.๓ พัฒนาการและขอบข่ายของรัฐศาสตร์ในประเทศไทย 
  • เมื่อไทยได้รับอิทธิการจัดระเบียบการปกครองแบบตะวันตกจึงได้นำเอา ความรู้ทางรัฐศาสตร์เท่าที่จำเป็นมาสอนในโรงเรียนฝึกหัดข้าราชการพลเรือน และก่อตั้งเป็นโรงเรียน รัฐประศาสนศาสตร์ในเวลาต่อมา 
  • จุฬาลงกรณ์เปิดหลักสูตรเป็นแห่งแรก ตามด้วยธรรมศาสตร์ รามคำแหง และ มสธ. 
  • มี ๓ สาขาคือ การปกคราอง บริหารรัฐกิจหรือรัฐประศาสนศาสตร์ และระหว่างประเทศ. 
  • ขอบข่ายของรัฐศาสนาเริ่มขยายไปสู่ ภาคเอกชน มีความเป็นเอกชนและความเป็นวิชาชีพ ความชำนาญเฉพาะทางมากขึ้น
๑.๓ เนื้อหาและวิธีการศึกษารัฐศาสตร์
๑.๓.๑ เนื้อหาและวิธีการศึกษาในแนวปรัชญา
           วิธีการศึกษารัฐศาสตร์ตามแนวปรัชญาไม่ได้อิงระเบียบวิ๊ทางวิทยาศาสตร์มากนักแต่ เป็นการอิงกับความเชื่อของคนที่เป็นนักปราชญ์เป็นสำคัญ 
  • โสคราตีส เกี่ยวกับเป้าหมายความต้องการและรูปแบบที่ดีที่สุดของรัฐ การกระทำทางการเมืองที่ดีและยุติธรรม
  • เพลโต เกี่ยวกับรัฐในอุดมคติ ผู้ปกครองที่ดีหรือราชาปราชญ์ 
  • อริสโตเติ้ล เกี่ยวกับรัฐในอุดมคติและระบอบการปกครองที่พึงปรารถนาตามหลักการปกครองตามสัดส่วน 
  • มาเคียเวลลี่ เกี่ยวกับศิลปะการใช้อำนาจและการปกครอง หน้าที่เพื่อความปลอดภัยอยู่ดีกินดี เป้าหมายสูงสุดคือ ส่วนรวม 
  • โธมัสฮ็อบ เกี่ยวกับ ความยุติธรรมในรูปกฎหมายที่องค์อธิปัตย์หรือผู้ปกครองใช้เพื่อเป้าหมายสูงสุด คือ ความปลอดภัย 
  • จอหน์ ล็อค เกี่ยวกับ อำนาจส่วนกลางที่คุ้มครองประชาชน และสิทธิในการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลของประชาชน 
  • รุสโซ เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดเป็นของชุมชนไม่ใช่รัฐบาล + มองเตสกิเออ เกี่ยวกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย รัฐบาลมีอำนาจจำกัด และมีการถ่วงดุลอำนาจ บริหาร ตุลการ นิติบัญญัติ
  • เฮเกล เกี่ยวกับจิตใจและความคิดเป็นตัวกำหนดสู่สิ่งใหม่ รัฐบาลจะดีหรือเลวขึ้นกับความคิดและจิตใจของคนในขณะนั้น 
  • เบนธัม เกี่ยวกับพันธะทางอำนาจของรัฐบาลในการสร้างประโยชน์สูงสุด แก่คนจำนวนมากที่สุด 
  • มิลล์ เกี่ยวกับการรักษาผลประโยชน์ ระหว่างของปัจเจกชนและของส่วนรวม โดยการสร้างดุลยภาพระหว่างเสรีภาพของคนกับรัฐบาล 
  • มากซ์ เกี่ยวกับวัตถุเป็นตัวกำหนดความเปลี่ยนแปลง รัฐเป็นเครื่องมือของทุนนิยมในการ ขูดรีด สังคมคอมมิวนิสต์คือสังคมที่ไร้รัฐและชนชั้น 
๑.๓.๒เนื้อหาและวิธีการศึกษาแนวสถาบันและโครงสร้าง 
           วิธีการศึกษาจะเน้นพฤติกรรม การเปรียบเทียบและการพัฒนา โดยอาศัยระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ ทางสังคมวิทยาและชีววิทยา
  • มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับสถาบันทางการเมืองในฐานะที่เป็นส่วนประกอบย่อย ของระบบการเมือง 
  • สนใจในส่วนที่เป็นสถาบันการเมืองการปกครอง โครงสร้าง และหน้าที่ของสถาบันเหล่านั้น
  • สถาบันนั้นไม่จะเป็นว่าต้องจัดตั้งอย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ จัดตั้งโดยรัฐหรือประชาชน แต่สำคัญที่ การกระทำหรือกิจกรรมทางการเมือง และมีผลกระทบต่อระบบการเมือง 
  • Eisenstad เห็นว่าสถาบันทางการเมืองจะมีลักษณะ ๑) มีแบบแผน กฎเกณฑ์และบรรทัดฐาน ๒) มีโครงสร้างและวิธีปฏิบัติกิจกรรมทางการเมือง ๓) มีปฏิสัมพันธ์กับสถาบันทางการเมืองอื่น
  • Huntington เห็นว่าเสถียรภาพหรือความมั่นคงของสถาบันนั้นขึ้นกับ ๒ ปัจจัยคือ ๑) ขอบเขตของการสนับสนุน ๒) ระดับความเป็นสถาบัน
๑.๓.๓ เนื้อหาและวิธีการศึกษาแนวระบบและวัฒนธรรมเมือง
          มีวิธีการศึกษาที่คล้ายคลึงกับแนวสถาบันและโครงสร้าง มีจุดต่างที่สำคัญคือ คำนึงถึงความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมทางการเมือง ศึกษษการเมืองในระบบปิดมากกว่าระบบเปิด อีกส่วนหนึ่งที่แตกต่างอย่างสำคัญคือ ส่วนที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมทางการเมือง การศึกษาแนวระบบและวัฒนธรรมเมืองมีเนื้อหาที่สำคัญอยู่ ๒ ส่วนคือ
๑) ส่วนที่เกี่ยวกับระบบการเมือง ส่วนเใหญ่เกี่ยวกับลักษณะที่เหมือนหรือคล้ายกันของระบบการเมือง ขั้นตอนและการทำงานของระบบการเมือง การดำรงอยู่ของระบบการเมือง และความแตกต่างของระบบการเมือง
๒) ส่วนที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมทางการเมือง ซึ่งส่วนใจเกี่ยวกับทีี่มา รูปแบบ บทบาท และความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างระบบการเมืองกับวัฒนธรรมการเมือง 
ภาพที่ ๑.๑ ขั้นตอนและการทำงานระบบการเมือง
๑.๔ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับศาสตร์อื่น
๑.๔.๑ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับนิติศาสตร์
  • มีความเชื่อมโยงกันทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
  • นิติศาตร์เกี่ยวข้องทัั้งการกำเนิดของรัฐ พัฒนาของรัฐ เครื่องมือของรัฐการออกแบบ ระบบการเมืองการปกครอง การสร้างความชอบธรรมทางการเมืองการปกครองของสถาบันการเมืองการปกครองและผู้ปกครอง
  • นิติศาสตร์จึงมีส่วนสนับสนุนรัฐศาสตร์ให้มีเครื่องมือในการสรา้งรัฐ พัฒนารัฐ ออกแบบระบอบการเมืองการปกครอง ปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เป็นต้น
๑.๔.๒ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับสังคมวิทยาและจิตวิทยา
  • มีความสัมพันธ์กันในแง่ของขอบข่ายของเนื้อหาสาระบริบท และวิธีในการศึกษา โดยเฉพาะปัจจุบันที่รัฐศาสตร์สนใจเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ประชาสังคม และพฤติกรรมทางสังคมของคนและสถาบันทางการเมืองการปกครอง
  • เนื่องจาก รัฐศาสตร์ศึกษษในหน่วยและระดับที่เกี่ยวกับคน กลุ่มคน ชุมชน รัฐและสถาบัน และสังคมโดยรวมด้วย คลอบคลุมทั้งจุล ภาค มหภาค ในแง่มุมต่างๆไม่ว่าจะเป็น พฤติกรรม วัฒนธรรม ความต้องการ แรงจูงใจ ทัศนคติ ค่านิยม และอารมณ์ความรู้สึกของคนทั้งในฝ่ายผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง
๑.๔.๒ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับสังคมวิทยาและเศรษฐศาสตร์
  • มีความสัมพันธ์กันในส่วนที่เกี่ยวกับเหตุผลและเป้าหมายมากว่า วิธีการ
  • เนื่องจากทั้งสอง อ้างอิงเหตุผลบนพื้นฐานของความเป็นธรรม และอ้างอิงเป้าหมายบนพื้นฐานของการสรา้งประโยชน์ สูงสุดให้แก่คนจำนวนมากที่สุด
๑.๔.๒ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับสังคมวิทยาและประวัติศาสตร์
  • มีความสัมพันธ์ในลักษณะพึ่งพาอาศัยกัน 
  • กล่าวคือ ขณะที่ประวัติศาสตร์เแาปรากฏการณ์ทางการเมืองไปบันทึก วิเคราะห์และตีความนั้น รัฐศาสตร์เองก็นำเอาประวัติศาสตร์มาใช้เป็นหลักฐานและข้อมูลประกอบการอ้างอิง วิเคราะห์ คาดการณ์และทำนายปรากฏการณ์ทางการเมืองด้วยเช่นกัน

+++++++++++++++  แร้วจ้าาาา บทที่ ๑  +++++++++++++

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Agenda 21


Agenda 21
แผนปฏิบัติการ 21 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

แผนปฏิบัติการ 21 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Agenda 21) เป็นเอกสารที่สำคัญฉบับหนึ่งของสหประชาชาติ ซึ่งได้รับการรับรองจากการประชุม Earth Summit ที่นครริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ในปี ค.. 1992 เพื่อเป็นแนวทางให้ประเทศต่างๆ ในโลก นำไปปรับใช้ตามลำดับความสำคัญก่อนหลัง เพื่อที่จะบรรลุถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน อันจะทำให้คนทั้งรุ่นปัจจุบันและอนาคตมีทรัพยากรธรรมชาติอย่างพอเพียงที่จะตอบสนองความต้องการต่างๆในการดำรงชีวิตเพื่อความกินดีอยู่ดี
Agenda 21 กล่าวไว้ว่า ประชากร การบริโภค และเทคโนโลยี เป็นพลังผลักดันหลักที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและมีความจำ เป็นต้องดำเนินการอะไรบ้างเพื่อที่จะลดรูปแบบของการบริโภคที่ฟุ่มเฟือยและ ไร้ประสิทธิภาพในบางส่วนของโลก ในขณะที่สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพิ่มขึ้นในส่วนอื่น ๆ ของโลกAgenda 21 ยังเสนอนโยบายและแผนงานในการที่จะบรรลุถึงความสมดุลอย่างยั่งยืนระหว่างการบริโภค ประชากร และสมรรถนะของโลกในการค้ำจุนสิ่งมีชีวิต (Earth's life supporting capacity) รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีและเทคนิคต่างๆ ที่จะตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ในขณะเดียวกันกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างระมัดระวัง
Agenda 21 เสนอแนวทางต่างๆ เพื่อต่อสู้กับความเสื่อมโทรมของดิน อากาศและน้ำ และเสนอแนวทางเพื่ออนุรักษ์ป่าไม้และความหลากหลายชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต การต่อสู้กับความยากจน แก้ไขการบริโภคที่ฟุ่มเฟือย การวางแผนและการจัดการกับการศึกษา สุขภาพอนามัย การแก้ปัญหาของเมืองใหญ่ๆ และของเกษตรกร กล่าวถึงบทบาทของทุกๆ กลุ่มไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล นักธุรกิจ สหภาพแรงงาน นักวิทยาศาสตร์ อาจารย์ คนพื้นเมือง สตรี เด็กและเยาวชน Agenda 21 กล่าวย้ำว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นหนทางที่จะเอาชนะทั้งในเรื่องของความยากจนและการทำลายสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบัน เราประเมินความสำเร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในรูปของตัวเงิน ระบบบัญชีซึ่งวัดค่าความมั่งคั่งของประเทศจำเป็นต้องนำเอาคุณค่าเต็มจำนวน(full value) ของทรัพยากรธรรมชาติ และค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนเต็มจำนวน (full cost) จากการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมในการพัฒนามาคิดคำนวณไว้ด้วย โดยหลักการผู้ที่ทำให้เกิดมลพิษ (polluters) ควรจะเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ในการลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายนั้น ควรมีการประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมก่อนที่จะเริ่มดำเนินโครงการต่างๆ รัฐบาลควรลดหรือยกเลิกเงินอุดหนุนต่างๆ ที่ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วย
หัวข้อหลักของ Agenda 21 ข้อหนึ่งก็คือความจำเป็นที่จะขจัดความยากจนโดยให้ประชาชนที่ยากไร้มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนได้มากยิ่งขึ้น ในการให้ความเห็นชอบต่อ Agenda 21 ประเทศอุตสาหกรรมทั้งหลายต่างยอมรับถึงบทบาทในการแก้ไขสิ่งแวดล้อมมากกว่าประเทศที่ยากจนซึ่งได้ก่อให้เกิดมลพิษ (pollution) น้อยกว่าประเทศที่ร่ำรวยยังให้คำมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนประเทศอื่นๆ ดำเนินการพัฒนาในลักษณะที่เกิดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมน้อยลง นอกเหนือจากด้านการเงินแล้ว ประเทศที่ยากจนต่างๆ จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือในการเสริมสร้างความชำนาญการหรือสมรรถนะ (capacity) ในการที่จะวางแผนและดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้ ทั้งนี้จำเป็นต้องมีการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารและทักษะด้วย ระหว่างประเทศที่ร่ำรวยและประเทศที่ยังยากจนอยู่
Agenda 21 ยังเรียกร้องให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ ดำเนินกลยุทธ์การพัฒนาประเทศในลักษณะที่ยั่งยืนโดยการเปิดโอกาสให้กลุ่มต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง แม้ว่ารัฐบาลจะมีความรับผิดชอบหลักในการชี้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง แต่จำเป็นต้องดำเนินงานโดยความร่วมมือกับฝ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์การระหว่างประเทศ ภาคธุรกิจ รัฐบาลมลรัฐ องค์กรส่วนจังหวัดและส่วนปกครองท้องถิ่น องค์กรเอกชนตลอดจนกลุ่มประชาชนในระดับต่างๆ
Agenda 21 ยังกล่าวด้วยว่าความร่วมมือและความรับผิดชอบร่วมกันในระดับโลก (global partnership) เท่านั้นที่ทำให้มั่นใจว่าทุกๆ ประเทศจะมีอนาคตที่ยั่งยืนและปลอดภัยร่วมกันมากยิ่งขึ้น
Agenda 21 ได้คำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 4 ส่วน คือ มิติทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ (Social and Economic Dimensions) การอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากร (Conservation and Management of Resources) การส่งเสริมบทบาทของกลุ่มต่างๆที่สำคัญ (Strengthening the Role of Major Groups) และวิธีการในการดำเนินงาน (Means of Implementation) โดยสามารถประมวลแนวทางที่สำคัญได้ดังต่อไปนี้
1.  การพัฒนาเศรษฐกิจจะต้องผสมผสานและควบคู่ไปกับการพัฒนาและความห่วงใยในสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมไม่อาจจะเป็นสิ่งสุดท้ายที่จะพิจารณาอีกต่อไป การที่จะเพิ่มรายได้และจัดหางานให้ประชาชนนั้น ควรจะกระทำไปพร้อมๆ กับการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนและสิ่งแวดล้อม
2.  การใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือย การสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์ การปล่อยของเสียและมลพิษต่างๆเป็นสาเหตุที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมไม่ยั่งยืน ซึ่งไม่อาจปล่อยให้เป็นเช่นนี้อีกต่อไปได้ เพราะเป็นการทำลายสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตในโลก
3.  จะต้องมีการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเนื่องจาก(1) มีผลกระทบอย่างเฉียบพลันต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ (2) เกิดผลกระทบต่อประชากรรุ่นลูกรุ่นหลานในอนาคต
4.  มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะร่ำรวยหรือยากจน ก็มีสิทธิเท่าเทียมกันในอันที่จะดำรงชีวิตความเป็นอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ได้ดื่มน้ำที่สะอาด หายใจในอากาศที่บริสุทธิ์ และสามารถที่จะควบคุมการใช้ทรัพยากรของตนเองได้
Agenda 21 ส่วนที่หนึ่ง : มิติทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ (Section 1 : Social and Economic Dimensions)
·       ความร่วมมือระหว่างประเทศ
·       การต่อสู้กับความยากจน
·       การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการบริโภค
·       ประชากรและความยั่งยืน
·       การคุ้มครองและเสริมสุขภาพมนุษย์
·       การตั้งถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน
·       การตัดสินใจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ส่วนที่สอง : การอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากร (Section 2 : Conservation and Management of Resources)
·       การคุ้มครองชั้นบรรยากาศของโลก
·       การจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน
·       การแก้ไขปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า
·       การแก้ไขปัญหาการแปรสภาพเป็นทะเลทรายและความแห้งแล้ง
·       การพัฒนาอย่างยั่งยืนในพื้นที่ภูเขา
·       การเกษตรอย่างยั่งยืนและการพัฒนาชนบท
·       การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
·       การจัดการเทคโนโลยีชีวภาพ
·       การคุ้มครองและการจัดการมหาสมุทร
·       การคุ้มครองและการจัดการแหล่งน้ำจืด
·       การใช้สารเคมีเป็นพิษอย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
·       การจัดการของเสียที่เป็นอันตราย
·       การจัดการของเสียที่เป็นของแข็งและน้ำโสโครก
·       การจัดการกากกัมมันตรังสี
ส่วนที่สาม : การส่งเสริมบทบาทของกลุ่มที่สำคัญๆ (Section 3 : Strengthening the Role of Major Groups)
·       อารัมภบทในการส่งเสริมบทบาทของกลุ่มที่สำคัญๆ
·       สตรีในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
·       เด็กและเยาวชนในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
·       การส่งเสริมบทบาทของคนพื้นเมือง
·       ความร่วมมือกับองค์กรเอกชน (NGOs)
·       รัฐบาลท้องถิ่น
·       คนงานและสหภาพแรงงาน
·       ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม
·       นักวิทยาศาสตร์และนักเทคโนโลยี
·       การส่งเสริมบทบาทของเกษตรกร
ส่วนที่สี่ : วิธีการในการดำเนินงาน (Section 4 : Means of Implementation)
·       การเงินสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ท การถ่ายทอดเทคโนโลยี
·       วิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
·       การศึกษา ฝึกอบรม และการตระหนักของสาธารณชน
·       การสร้างสมรรถนะเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
·       การจัดองค์กรเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
·       กฎหมายระหว่างประเทศ
·       ข้อมูลข่าวสารเพื่อการตัดสินใจ