วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

ประเทศไทยเรียนหนักที่สุดในโลก


เด็กไทยเรียนหนักแค่ไหน?

หากพิจารณาข้อมูลของ UNESCO แสดงจำนวนชั่วโมงเรียนต่อปีของนักเรียนในระดับอายุ 9 - 13 ปีในแต่ละประเทศ จะพบว่า

เด็กไทยเรียนหนักเป็นอันดับ 2 ในระดับอายุ 9 ปี (1,080 ชั่วโมงต่อปี)
เด็กไทยเรียนหนักเป็นอันดับ 1 ในระดับอายุ 10 ปี (1,200 ชั่วโมงต่อปี)
เด็กไทยเรียนหนักเป็นอันดับ 1 ในระดับอายุ 11 ปี (1,200 ชั่วโมงต่อปี)
เด็กไทยเรียนหนักเป็นอันดับ 5 ในระดับอายุ 12 ปี (1,167 ชั่วโมงต่อปี)
เด็กไทยเรียนหนักเป็นอันดับ 8 ในระดับอายุ 13 ปี (1,167 ชั่วโมงต่อปี)

ตัวเลขของประเทศอื่นๆ ที่น่าสนใจมีดังนี้ (เด็กอายุ 11 ปี)

อันดับ 2 อินโดนีเซีย 1,176 ชั่วโมงต่อปี
อันดับ 3 ฟิลิปปินส์ 1,067 ชั่วโมงต่อปี
อันดับ 4 อินเดีย 1,051 ชั่วโมงต่อปี
อันดับ 11 มาเลเซีย 964 ชั่วโมงต่อปี
อันดับ 19 เยอรมนี 862 ชั่วโมงต่อปี
อันดับ 28 จีน 771 ชั่วโมงต่อปี
อันดับ 30 ญี่ปุ่น 761 ชั่วโมงต่อปี

ตัวเลขเหล่านี้นับเฉพาะ "เวลาเรียนในโรงเรียน" เท่านั้น ยังไม่รวมเวลาเรียนพิเศษนอกเวลา

เป็น ที่น่าสังเกตว่าเวลาที่ใช้ในการศึกษาภาคบังคับของเด็กไทยไม่ได้เปลี่ยนไปมาก จากชั้นประถมไปสู่มัธยม ในขณะที่บางประเทศให้เวลากับชั้นมัธยมมากยิ่งขึ้น (ดัง จะเห็นได้จากอันดับของไทยที่ลดลง) และยังน่าสังเกตด้วยว่าเยาวชนในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วล้วนมีชั่วโมงเรียนที่ น้อยกว่าเยาวชนไทย หรือแม้กระทั่งเยาวชนในกลุ่มประเทศที่ เชื่อกันว่าเรียนหนักกว่าเราเช่น จีน หรือ ญี่ปุ่น ก็ล้วนมีชั่วโมงเรียนน้อยกว่าเราเช่นกัน

# 1     Thailand: 1,200 hours 
# 2     Indonesia: 1,176 hours 
# 3     Philippines: 1,067 hours 
# 4     India: 1,051 hours 
# 5     Egypt: 1,026 hours 
# 6     Italy: 1,020 hours 
# 7     Netherlands: 1,000 hours 
# 8     Australia: 987 hours 
# 9     New Zealand: 985 hours 
# 10     Jordan: 974 hours 
# 11     Malaysia: 964 hours 
# 12     Tunisia: 960 hours 
# 13     Jamaica: 950 hours 
# 14     Ireland: 941 hours 
# 15     Greece: 928 hours 
# 16     Russia: 919 hours 
# 17     Hungary: 902 hours 
# 18     Chile: 900 hours 
# 19     Germany: 862 hours 
# 20     Portugal: 842 hours 
# 21     France: 837 hours 
# 22     Denmark: 810 hours 
# 23     Czech Republic: 803 hours 
= 24     Brazil: 800 hours 
= 24     Mexico: 800 hours 
# 26     Turkey: 796 hours 
# 27     Spain: 795 hours 
# 28     China: 771 hours 
# 29     Norway: 770 hours 
# 30     Japan: 761 hours 
= 31     Zimbabwe: 753 hours 
= 31     Paraguay: 753 hours 
# 33     Iceland: 747 hours 
# 34     Sweden: 741 hours 
# 35     Argentina: 729 hours 
# 36     Finland: 713 hours 
# 37     Uruguay: 455 hours 
# 38     Austria: 0 hours 
ข้อมูลอ้างอิงมากจากhttp://www.nationmaster.com/graph/edu_hou_of_ins_for_pup_age_11-hours-instruction-pupils-aged-11

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

การศึกษากระแสหลักการศึกษาที่ไม่สมบูรณ์ ๒

การศึกษาที่สมบูรณ์
การศึกษาที่สมบูรณ์หรือการศึกษาที่แท้จริงนี้ ผู้เขียนไม่ได้คิดหรือนิยามขึ้นมาเองหากแต่มี นักคิด นักเขียน ที่ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องของการศึกษาที่สมบูรณ์นั้นอยู่แล้ว ได้แก่
ท่านพระมหาวุฒิชัย ว.วชิรเมธี ได้กล่าวถึงการศึกษาที่สมบูรณ์ไว้ว่า การศึกษาที่สมบูรณ์นั้นจะต้องครอบคลุม ทั้ง๔ ประการได้แก่
๑.     พัฒนาการทางด้านร่างกายจะต้องมีสุขภาพร่างการที่สมบูรณ์แข็งแรง
๒.     พัฒนาการทางด้านสังคมสามารถเข้าสังคมได้ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
๓.     พัฒนาการทางด้านจิตใจมีจิตใจที่เบิกบาน แจ่มใส มีคุณธรรมจริยธรรม
๔.     พัฒนาการทางด้านปัญญามีความรู้ ทักษะความสามารถ

ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้กล่าวถึงหลักการศึกษาที่สมบูรณ์ไว้ว่า การศึกษาที่สมบูรณ์จะต้องมีองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ 
๑.     มีความฉลาดคือ มีความรู้ความสามารถพอที่จะสามารถประกอบอาชีพได้
๒.     มีเครื่องมือควบคุมความฉลาด มีคุณธรรมจริยธรรมเพื่อใช้ในการความคุมความฉลาด ให้ใช้ไปในทางที่ถูกต้องไม่ใช้ไปในทางที่ผิด
๓.     มีมนุษยธรรม คือ ความเป็นมนุษย์ที่ถูกต้องพอตัว

สอดคล้องกับแนวคิดของท่านปัญญานันทะภิกขุ ได้กล่าวถึงการศึกษาที่สมบูรณ์ว่า
“การศึกษาที่สมบูรณ์เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา เป็นทางให้เกิดหูตาสว่าง มองการณ์ไกล เป็นปัญญาที่มีเหตุผล มีธรรมะคือสติ เป็นต้น คอยเหนี่ยวรั้งความคิดไม่ให้ดำเนินไปผิดทาง”

ตามทัศนะของผู้เขียน เห็นว่าการศึกษาที่สมบูรณ์นั้นจะต้องครอบคลุมทุกด้านของชีวิต นั้นคือการศึกษาจะต้องไม่ยึดติดกับตัว “วิชา”กล่าวคือการศึกษานั้นจะต้องมีการบูรณาการกันระหว่าง หลักวิชาความรู้ กับ หลักการใช้ชีวิต ทุกวิชาจะต้องมีความสอดคล้องกับชีวิต จะต้องมีการปฏิสัมพันธ์กันบูรณาการกัน โดยทุกวิชาจะต้องสามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตจริง 

การศึกษากระแสหลักการศึกษาที่ไม่สมบูรณ์ ๑





การศึกษากระแสหลักการศึกษาที่ไม่สมบูรณ์ ๑
ผู้เขียน นายวัชรินทร์ ใจจะดี คณะสังคมศาสตร์ สาขาพัฒนาสังคม(บทความนี้เขียนด้วยความรู้อันน้อยนิด มุมมอง ทัศนะความรู้สึก และข้อมูลเพื่อนำเสนออาจารย์วิชา ปัญหาสังคมและประเด็นการพัฒนาครับ)

              รากฐานของเจดีย์คือ อิฐ หากจะทำให้พระเจดีย์อยู่ได้อย่างมั่นคง สง่างาม จำเป็นที่จะต้องมีรากฐานที่แข็งแรง ฉันใดก็ฉันนั้น การพัฒนาประเทศก็เช่นเดียวกัน หากจะพัฒนาประเทศให้มั่นคงได้นั้นจำเป็นที่จะต้องสร้างรากฐานให้เข็มแข็ง มั่นคง รากฐานของประเทศก็คือ คนในประเทศ หากคนในประเทศมีความเข็มแข็ง มั่นคงแล้วการที่จะพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าได้นั้นย่อมเป็นเรื่องง่าย แต่ทว่าการพัฒนาประเทศของไทยกลับไม่ได้เริ่มพัฒนาจากฐานรากของสังคมเพราะนับแต่มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติขึ้น สิ่งแรกที่รัฐพัฒนาคือ การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคต่างๆเพื่อรองรับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เมื่อรากฐานของประเทศซึ่งก็คือประชาชนไม่ได้รับการพัฒนา ก็เปรียบเหมือน พระเจดีย์ที่มีรากฐานไม่มั่นคง ย่อมที่จะล่มลงได้โดยง่าย

ปรัชญาของการพัฒนาสังคมคือ ศูนย์กลางของการพัฒนาทั้งปวง คือ “คน” (ตามความเข้าใจของผู้เขียน) ไม่ว่าจะพัฒนาอะไรก็ตาม จำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาคนเป็นอันดับแรก การจะพัฒนาคนได้นั้นสำคัญที่สุด จะต้องพัฒนาที่ การศึกษา ให้มีความรู้ มีปัญญา  มีความสามารถมากพอที่จะไม่ถูกหลอก ไม่งมงาย และสามรถนำความรู้มาใช้ในทางปฏิบัติแก้ปัญหาในชีวิตได้จริง หากคน ไม่ได้รับการศึกษา ไม่มีปัญญา หรือมีการศึกษามีความรู้แต่ไม่สามารถนำมาใช้ได้จริงในชีวิต แล้วนั้นก็ย่อมเป็นบ่อเกิด หรือเป็นรากเหง้าของปัญหาต่างๆในสังคม ได้

ปัจจุบัน ผู้ที่ได้รับการศึกษาในสังคมไทย มีมากมาย แต่ละปีมีคนเรียนจบปริณญาตรีไม่ต่ำกว่า สองแสน คน เพราะมีสถาบันอุดมศึกษา สาตร์สาขาต่างๆ เกิดขึ้นอย่างมากมาย ทั้งในระบบ นอกระบบ ทั้งของรัฐและของเอกชน แต่ทว่า คนในประเทศ ซึ่งถือเป็นฐานรากของสังคมไทย เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาอย่างมากมายเช่นนี้ แต่ทำไมสภาพสังคมไทยยังมีปัญหาต่างๆเกิดขึ้นอยู่อย่างมากทั้งยังมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น
ปัญหาการฆ่าตัวตายจากสถิติการเก็บข้อมูลของ กรมสุขภาพจิต พบว่า สถิติการฆ่าตัวตายของคนไทย โดยเฉลี่ยอยู่ที่ ประมาณ ๕.๗๗ คนต่อประชากรแสนคน หรือมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จประมาณ ๓,๖๑๒ คนต่อปี และถ้าคิด เฉลี่ยต่อวัน พบว่าในแต่ละวันมีคนฆ่าตัวตายถึง ๑๒ คน หรือเฉลี่ย ๑ คนต่อทุก ๆ ๒ ชั่วโมง (ศูนย์สารสนเทศ กองแผนงาน กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข)
ปัญหาการคอรัปชั่น เห็นได้จาก การจัดอันดับประเทศที่มีการคอรัปชั่นมากที่สุดในแถบเอเชียและแปซิฟิคของ Political and Economic Risk Consultancyหรือ PERC โดยประเทศไทยคะแนน ๗.๖๓ คะแนน สูงเป็นอันดับ ๒ รองจากประเทศอินโดนีเซีย (หนังสือชีวจิต ฉบับที่ ๒๕๖ปีที่ ๑๑)
ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยเรียน จากอัตราเฉลี่ยการคลอดบุตรของมารดาอายุต่ำกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์ สูงเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นอันดับหนึ่งของทวีปเอเชีย คือ ร้อยละ ๑๓.๕๕ ในปี ๒๕๕๒ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนด (ศูนย์เทคโนโลยีและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคม)

ตามทฤษฎี โกลาหล หรือทฤษฏีไร้ระเบียบ ( Chaos theory) ที่กล่าวว่า สภาพการของสังคมนั้นเปราะบาง เหตุเล็กๆ ที่เราไม่ได้สังเกต ไม่ได้เอาใจใส่ ถ้าเกิดขึ้นซ้ำซากมานานเหตุเล็กๆ เหล่านั้น สามารถกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้โดยคาดไม่ถึง อาจพลิกผันเป็นสถานการณ์อื่นได้ หากจะวิเคระห์ตามทฤษฎีนี้แล้ว ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นนี้เกิดจาก ปัญหาหนึ่งและส่งผลให้เกิดอีกปัญหาหนึ่ง ไปเรื่อยๆจนระบาดไปทั่วทั้งสังคม  จากปรัชญาของการพัฒนาสังคมที่กล่าวไว้ว่า คน คือศูนย์กลางของการพัฒนา ฉนั้นตามทัศนของผู้เขียนมองว่า รากเหง้าของปัญหาต่างๆ ก็ คือ ”คน” เพราะคนยังไม่ได้รับการพัฒนาหรือได้รับการพัฒนาที่ไม่ดีพอ เมื่อพูดถึงเรื่องการพัฒนาคน ก็ต้องพูดถึงเรื่องของ สิ่งที่จะพัฒนาคนได้ ซึ่งก็คือ การศึกษา ดังนั้นสาเหตุที่ทำให้สังคมไทยเกิดปัญหาต่างๆมากมายในทุกวันนี้ ก็เป็นเพราะว่า เรามีปัญหาในเรื่องของ ระบบการศึกษานั้นเอง

เมื่อพูดถึงเรื่องการศึกษา ประเด็นที่ผู้เขียนจะกล่าวถึงภายใต้กรอบความคิดที่ว่า ศูนย์กลางของการพัฒนาคือ คน และ คนจะสามารถพัฒนาได้จะต้องอาศัยการศึกษาเป็นหลัก มีอยู่ ๓ ประเด็นคือ
๑.     การศึกษาที่สมบูรณ์
๒.     การศึกษากระแสหลักการศึกษาที่ไม่สมบูรณ์
๓.     การศึกษาทางเลือกทางรอดของสังคม